สระในภาษาบาลี
ก่อนพูดถึงเรื่องสระมาทำความรู้จักกับอักขระหรืออักษรกันก่อนครับ
อักขระในภาษาบาลีหมายถึงสระและพยัญชนะรวมกัน มีทั้งสิ้น 41 ตัว ประกอบด้วย สระ 8 และพยัญชนะ 33
สระในภาษาบาลีนั้นมีทั้งสิ้น 8 ตัว ได้แก่ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
สระทั้ง 8 ตัวนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า นิสสัย สามารถออกเสียงได้โดยลำพัง รวมถึงสามารถทำให้พยัญชนะออกเสียงได้ด้วย
สระแบ่งตามลักษณะได้ 2 แบบคือ แบ่งตามความสั้นยาว และแบ่งตามสระแท้และผสม ดูตารางประกอบเลยจ้ะ
ดูตารางแล้ว มาทำความรู้จักกับชื่อเฉพาะกันนะครับ
รัสสระ หมายถึง สระเสียงสั้น ได้แก่ อ อิ อุ
ทีฆสระ หมายถึง สระเสียงยาว ได้แก่ อา อี อู เอ โอ
สุทธสระ หมายถึง สระแท้ ได้แก่ อ อา อิ อี อุ อู
สังยุตตสระ หมายถึง สระผสม ได้แก่ เอ โอ
ครุ หมายถึงเสียงหนัก ได้แก่สระทีฆะล้วน (เสียงยาว) หรือสระที่เป็นรัสสะ (เสียงสั้น) แต่มีพยัญชนะสังโยค หรือ มีนิคหิต ( ํ) อยู่เบื้องหลัง ตัวอย่างเช่นคำว่า ภูปาโล เอสี มนุสฺสินฺโท โกเสยฺยํ เป็นต้น
ลหุ หมายถึงเสียงเบา ได้แก่สระรัสสระล้วน (เสียงสั้น) ตัวอย่างเช่นคำว่า ปติ มุนิ เป็นต้น
เรื่องสระมีแค่นี้ครับ…
ถือว่าไม่ยากเลยสำหรับการเรียน สิ่งที่ควรจำสำหรับเรื่องนี้คือคำเฉพาะนั่นเอง อักขระ รัสสะ ทีฆะ สุทธะ สังยุตตะ ครุ ลหุ
แต่ละคำหมายความว่ายังไง แล้วก็มีสระอะไรบ้าง แค่นี้ก็ทำข้อสอบได้แล้ว