วัตตมานาวิภัตติ เมื่อที่รู้ส่วนประกอบของกริยาแล้ว ต่อไปก็จะเข้าสู่การสร้างกริยาครับ เริ่มต้นจากปัจจุบันกาล ภาษาบาลีเรียก วัตตมานาวิภัตติ ทบทวนสักนิด ธาตุมีทั้งหมด 8 หมวด เราจะนำธาตุเหล่านี้มาประกอบกับวัตตมานาวิภัตติเรียงจาก 1 ไปถึง 8 เริ่มจากการสร้างกริยากัตตุวาจก (ประธานทำเอง) ธาตุหมวดที่ 1 มาดูว่าโครงสร้างมีอะไรบ้าง edit
(028) กริยาอาขยาต
กริยาอาขยาต เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเลยทีเดียว เนื้อหาเยอะพอสมควร แต่รับรองว่าถ้าเข้าใจแล้ว เรื่องอื่นๆ จะหมูมาก อาขยาต ได้แก่ กริยาสำคัญ หรือกริยาคุมประโยคในภาษาบาลี ที่ใช้บ่งบอกอาการ หรือการกระทำต่างๆ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด เป็นต้น ถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือเรื่องกริยานั่นเอง edit
(027) อัพยยศัพท์
อัพยยศัพท์ อัพยยศัพท์ คือกลุ่มศัพท์ที่แจกด้วยวิภัตติไม่ได้ คงรูปไว้อย่างเดิม ประกอบด้วยศัพท์ 3 จำพวก ได้แก่ อุปสรรค นิบาต และปัจจัย อุปสรรค อุปสรรค คือคำศัพท์ประเภทหนึ่งที่แจกด้วยวิภัตติไม่ได้ ในภาษาบาลีมีอุปสรรคทั้งหมด 20 ตัว ใช้สำหรับประกอบหน้าคำนามหรือคำกริยา เพื่อให้มีความหมายแปลกออกไป อุปสรรคเมื่อนำหน้าคำนามจะมีลักษณะคล้ายคำคุณศัพท์ เช่น อธิ + ปติ = อธิปติ แปลว่า นายใหญ่ เป็นต้น เมื่อนำหน้าคำกริยาจะมีลักษณะคล้ายคำกริยาวิเศษณ์ เช่น อนุ + คจฺฉติ = อนุคจฺฉติ แปลว่า ไปตาม เป็นต้น อุปสรรคเหล่านี้ เมื่อนำหน้าคำนามหรือกริยาจะทำหน้าที่แตกต่างกันดังนี้ edit
ปูรณสังขยา ปูรณสังขยา จริงๆ แล้วก็คือการนับเลขแบบลำดับนั่นเอง เช่น ที่หนึ่ง, ที่สอง, ที่สาม, ที่สี่ และที่ห้า เป็นต้น เกิดจากการนำปัจจัยไปต่อท้ายปกติสังขยา ทำให้ปกติสังขยาบางตัวเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยที่นำมาประกอบ ปกติสังขยามี 5 ตัวคือ ติย ฐ ถ ม อี edit
ปกติสังขยา เมื่อจะนำปกติสังขยาไปใช้ในประโยค ต้องทำการแจกวิภัตติก่อน ปกติสังขยาในประโยคจะทำหน้าที่แตกต่างกัน เป็นประธานบ้าง ขยายคำนามบ้าง เมื่อขยายคำนามจะต้องมีลิงค์ วจนะ วิภัตติเดียวกับคำนามที่ไปขยาย edit
(024) สังขยา
สังขยา เนื้อหาในส่วนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนับจำนวน มีความสัมพันธ์กับเรื่องคุณนามด้วย เพราะถือว่าเป็นคำที่ขยายนามนามเช่นเดียวกัน ถ้าเราเข้าใจหลักการใช้คุณนามก็จะทำให้เข้าใจเรื่องสังขยาได้ไม่ยาก เนื้อหาประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักคือ ปกติสังขยา และ ปูรณสังขยา edit
(023) กติปยศัพท์
กติปยศัพท์ การแจกวิภัตติที่ผ่านมาจะเป็นเรื่องของคำนามที่ลงท้ายด้วยสระ หรือที่เราเรียกว่าการันต์นั่นเอง ในภาษาบาลียังมีการแจกวิภัตติคำนามอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างจากคำนามทั่วไป แต่ศัพท์พวกนี้มีไม่เยอะจึงเรียกว่า กติปยศัพท์ หรือ ปกิณกศัพท์ edit
การแจกวิภัตติวิเสสนสรรพนาม ต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่เป็นเรื่องปุริสสรรพนามนะครับ ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง วิเสสนสรรพนามมี 2 ส่วนคือ นิยม กับ อนิยม ซึ่งทั้ง 2 ส่วนก็มีการแจกวิภัตติเช่นเดียวกัน มีรายละเอียดต่อไปนี้ edit
(021) สรรพนาม : ปุริสสรรพนาม
สรรพนาม หมายถึง คำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซาก ช่วยให้ภาษากระชับ สละสลวย ภาษาบาลีแบ่งสรรพนามออกเป็น 2 ชนิดคือ ปุริสสรรพนาม และ วิเสสนสรรพนาม ปุริสสรรพนาม คือศัพท์สำหรับใช้แทนชื่อคน สัตว์ และสิ่งของที่กล่าวถึงแล้ว เหมือนกับคำสรรพนามในภาษาไทย นับตามบุรุษแบ่งออกเป็น 3 ชนิดหรือ 3 บุรุษ คือ edit
(020) คุณศัพท์
คุณศัพท์ ในภาษาบาลีเรียกว่า คุณนาม เป็นคำขยายนามนามหรือแสดงลักษณะของนามนาม เพื่อให้รู้ว่านามนามนั้นมีลักษณะอย่างไร เช่น อ้วน ผอม สูง ต่ำ ดำ ขาว ดี ชั่ว เป็นต้น หรือถ้าจะให้เข้าใจง่ายขึ้นคุณศัพท์ก็เปรียบได้กับ Adjective ในภาษาอังกฤษ ทำหน้าที่ขยายคำนามนั่นเอง คุณศัพท์หรือคุณนามในภาษาบาลีแบ่งออกเป็น 3 ขั้นคือ ขั้นปกติ ขั้นวิเสส และขั้นอติวิเสส edit
และแล้ว…ก็มาถึงการแจกวิภัตติการันต์สุดท้ายจนได้ อู การันต์นั่นเอง มีแค่ 2 ลิง ไม่มีนปุงสกลิงค์จ้า
สังเกตให้ดีมันแทบจะเหมือน อุ การันต์เลยแหละ อย่าเสียเวลา แจกวิภัตติกันเลยดีกว่า
การแจกวิภัตติ อุ การันต์ อุ การันต์ เป็นอีกการันต์ที่มีครบทั้ง 3 ลิงค์เลย มาดูกันว่าแจกวิภัตติยังไงบ้าง edit
การแจกวิภัตติ อี การันต์ อี การันต์ มีเพียง 2 ลิงค์คือไม่มีนปุงสกลิงค์ การแจกวิภัตติแทบจะเหมือนกับ อิ การันต์ เป็นไงมาดูกันเลย edit
การแจกวิภัตติ อิ การันต์ อิ การันต์ มีครบทั้ง 3 ลิงค์เลย ปุงลิงค์กับนปุงสกลิงค์แจกวิภัตติคล้ายกันซะส่วนใหญ่ อิตถีลิงค์มีเอกลักษณ์ตรงที่มีรูปซ้ำกันเยอะเหมือนกับ อา การันต์ ต่างกันยังไงบ้างไปดูกันเลยครับ edit
การแจกวิภัตติ อา การันต์ อา การันต์ มีเพียงอิตถีลิงค์เท่านั้น มีวิธีการแจกวิภัตติและคำแปลเหมือนกับ อ การันต์ที่ผ่านมา ต่างกันแค่รูปวิภัตติเท่านั้น เป็นยังไง มาดูกันเลย edit
การแจกวิภัตติ อ การันต์ เรื่องนี้ยาวครับบอกไว้ก่อน แต่เป็นเรื่องที่สำคัญ ทำความเข้าใจให้ดี เมื่อแจกวิภัตติแบบ อ การันต์ ได้แล้ว การันต์อื่นๆ รับรองว่าง่ายมาก มาลองดูกันครับ การแจกวิภัตตินามศัพท์คือการนำรูปวิภัตติไปต่อท้ายคำนามดังที่กล่าวแล้ว เมื่อคำนามประกอบกับวิภัตติจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการันต์และลิงค์นั้นๆ ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการแจกวิภัตติการันต์ต่างๆ ดูภาพประกอบเลยจ้ะ edit
(011) นามศัพท์
นามศัพท์ นามศัพท์ ในบาลีไวยากรณ์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ นามนาม คุณนาม และสรรพนาม 1. นามนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน, สัตว์, สถานที่, สิ่งของ, สภาวะต่างๆ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ • สาธารณนาม หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกได้ทั่วไป ไม่จำเพาะเจาะจง สำหรับเรียกคน, สัตว์, สถานที่, สภาวะต่างๆ เช่น มนุสฺโส มนุษย์ ใช้เรียกมนุษย์ได้โดยทั่วไป, ติรจฺฉาโน สัตว์ดิรัจฉาน, นครํ เมือง, สนฺติ ความสงบ เป็นต้น • อสาธารณนาม หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกเฉพาะเจาะจง ไม่ทั่วไป เช่น ทีฆาวุ กุมารชื่อทีฆาวุ ใช้เรียกเฉพาะกุมารที่ชื่อว่า ทีฆาวุ, เอราวโณ ใช้เรียกชื่อช้างเอราวัณ, …