สระสนธิ
สระสนธิคืออะไร? คือการเชื่อมกันระหว่างกับสระ มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำสนธิ 7 วิธี คือ โลปะ อาเทสะ อาคมะ วิการะ ปกติ ทีฆะ รัสสะ
แต่ละชนิดมีวิธีการอย่างไรบ้าง มาติดตามกันเลยจ้ะ
ก่อนอื่นดูตารางก่อนนะ
1.โลปะ ลบสระ มี 2 วิธี คือ
- ลบสระหน้า มี 4 วิธี ได้แก่
-ถ้าสระหน้าเป็นรัสสะหรือเสียงสั้น สระหลังมีพยัญชนะสังโยค หรือ ทีฆสระ ให้ลบสระหน้าอย่างเดียว เช่น
ยสฺส + อินฺทฺริยานิ เป็น ยสฺสินฺทฺริยานิ
โนหิ + เอตํ เป็น โนเหตํ
สเมตุ + อานสฺมา เป็น สเมยตายสฺมา
-ถ้าสระทั้ง 2 มีรูปเสมอกัน ให้ลบสระหน้า แล้วทำหลังเป็นเสียงยาว เช่น
ตตฺร + อยํ เป็น ตตฺรายํ
-ถ้าสระทั้ง 2 เป็นรัสสระ มีรูปไม่เสมอกัน และสระหลังไม่มีพยัญชนะสังโยค ให้ลบสระหน้า ไม่ต้องทำสระหลังให้เป็นเสียงยาว เช่น
จตูหิ + อปาเยหิ เป็น จตูหปาเยหิ
-ถ้าสระหน้าเป็นทีฆะหรือเสียงยาว สระหลังเป็นรัสสะหรือเสียงสั้น และไม่มีพยัญชนะสังโยค ให้ลบสระหน้า แล้วจึงทำสระหลังให้เป็นเสียงยาว เช่น
สทฺธา + อิธ เป็น สทฺธีธ
- ลบสระหลัง มี 2 วิธี ได้แก่
-ถ้าสระทั้ง 2 มีรูปไม่เสมอกัน ให้ลบสระหลัง เช่น
จตฺตาโร + อิเม เป็น จตฺตาโรเม
กินฺนุ + อิมา เป็น กินฺนุมา
-ถ้านิคหิตอยู่หน้า ให้ลบสระที่อยู่หลัง เช่น
อภินนฺทุ + อิติ เป็น อภินนฺทุนฺติ
2.อาเทสะ แปลงสระ มี 2 วิธี คือ
- แปลงสระหน้า คือ ถ้ามี อิ เอ โอ อยู่หน้า ตามด้วยสระ ให้แปลง อิ เอ เป็น ย และ แปลง อุ โอ เป็น ว
-ถ้าพยัญชนะมีรูปเสมอกันซ้อนกันอยู่สองตัวก็ให้ลบออกตัวหนึ่งด้วย เช่น
วุตฺติ + อสฺส เป็น วุตฺยสฺส (อิ เป็น ย)
เต + อสฺส เป็น ตฺยสฺส (เอ เป็น ย)
พหุ + อาพาโธ เป็น พหฺวาพาโธ (อุ เป็น ว)
อถ + โข อสฺส เป็น อถขฺวสฺส (โอ เป็น ว)
ปฏิสณฺฐารวุตฺติ + อสฺส เป็น ปฏิสณฺฐารวุตฺยสฺส (อิ เป็น ย และ ลบ ต ออกหนึ่งตัว)
- แปลงสระหลัง ถ้าสระอยู่หน้า แล้วมี เอว ศัพท์อยู่หลัง ให้แปลง เอ ใน เอว เป็น ริ แล้วรัสสะสระหน้าให้สั้นลง เช่น
ยถา + เอว เป็น ยถริว
ตถา + เอว เป็น ตถาริว
3.อาคมะ คือการลงสระใหม่ มี 2 วิธี ได้แก่
–ถ้าสระอยู่หน้า พยัญชนะอยู่หลัง ให้ลบ โอ แล้วลง อ อาคม เช่น
โส + สีลวา เป็น สสีลวา
โส + ปญฺญวา เป็น สปญฺญวา
เอโส + ธมฺโม เป็น เอสธมฺโม
–ถ้าพยัญชนะอยู่หลัง ลง โอ อาคม (ได้บ้าง) เช่น
ปร + สหสฺสํ เป็น ปโรสหสฺสํ
สรท + สตํ เป็น สรโทสตํ
4. ปกติ คงสระไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่น
-
โก + อิมํ เป็น โก อิมํ
- วิการะ คือ แปลงสระหนึ่งให้เป็นอีกสระหนึ่ง มี 2 วิธี ได้แก่
–วิการสระหน้า คือ เมื่อลบสระหลังแล้ว ให้แปลงสระหน้า คือ อิ เป็น เอ และ อุ เป็น โอ เช่น
มุนิ + อาลโย เป็น มุเนลโย (ลบ อา ใน อาลโย แล้วแปลง อิ ใน มุนิ เป็น เอ)
สุ + อตฺถิ เป็น โสตฺถิ (ลบ อ ใน อตฺถิ ก่อน แล้วแปลง อุ ใน สุ เป็น โอ)
–วิการสระหลัง คือ ทำเหมือนวิการสระหน้า แต่ให้แปลงเฉพาะสระหลัง เช่น
มารุต + อิริตํ เป็น มารุเตริตํ
พุทฺธสฺส + อิว เป็น พุทธสฺเสว
น + อุเปติ เป็น โนเปติ
อุทกํ + อูมิกชาตํ เป็น อุทโกมิกชาตํ (ลบนิคหิตข้างหน้า แล้ว แปลง อู เป็น โอ)
- ทีฆะ ทำสระเสียงสั้นให้เป็นเสียงยาว มี 2 วิธี คือ
–ทีฆะสระหน้า คือเมื่อลบสระหลังแล้ว ทำทีฆะสระหน้าบ้าง เช่น
โลกสฺส + อิติ เป็น โลกสฺสาติ
สาธุ + อิติ เป็น สาธูติ
–ทีฆะสระหลัง คือเมื่อลบสระหน้าแล้ว ทำทีฆะสระหลังบ้าง เช่น
พุทฺธ + อนุสฺสติ เป็น พุทฺธานุสฺสติ
อติ + อิโต เป็น อตีโต
- รัสสะ ทำสระเสียงยาวให้สั้น มีหลักดังนี้ ถ้ามีพยัญชนะหรือ เอว ศัพท์อยู่หลัง ทำสระหน้าให้สั้นลง เช่น
โภวาที + นาม เป็น โภวาทินาม
ยถา + เอว เป็น ยถริว
ในส่วนสระสนธิก็ถือว่าจบแต่เพียงเท่านี้
พยายามอ่านและทำความเข้าใจอุปกรณ์การทำสนธิแต่ละอย่างให้ดี ที่สำคัญที่สุดคือตัวอย่างต่างๆ อย่าลืมเชียว
ข้อสอบมักจะถามในตัวอย่างนี่แหละจะบอกให้!!!