พยัญชนะสนธิ

พยัญชนะสนธิคืออะไร? ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง มาดูกันเลยครับ

พยัญชนะสนธิ คือการเชื่อมคำระหว่างพยัญชนะกับสระ หรือกับพยัญชนะ มี 5 วิธี คือ โลปะ อาเทสะ อาคมะ ปกติ  สัญโญคะ

แต่ละอุปกรณ์เมื่อประกอบแล้วเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างมาดูกันครับ

 

ดูตารางเลยจ้ะ

1. โลปะ ลบพยัญชนะ คือ เมื่อลบสระหลังจากนิคหิตแล้ว ถ้ามีพยัญชนะเหมือนกันซ้อนกัน 2 ตัว ให้ลบ 1 ตัว เช่น

เอวํ + อสฺส           เป็น     เอวํส

ปุปฺผํ + อสฺสา       เป็น     ปุปฺผํสา

2. อาเทสะ แปลงพยัญชนะ มี 4 วิธี คือ

-ถ้าสระอยู่ข้างหลัง ให้อาเทสหรือแปลง ติ เป็น แล้วซ้อน จฺ เช่น

            อิติ + เอวํ                เป็น      อิจฺเจวํ

            อิติ + อาทิ              เป็น     อิจฺจาทิ

            ปติ + อุตฺตริตฺวา    เป็น     ปจฺจุตฺตริตฺวา

            แปลง อภิ เป็น อพฺภ เช่น

            อภิ + อุคฺคจฺฉิ          เป็น     อพฺภุคฺคจฺฉิ

            อภิ + อุคฺคจฺฉติ       เป็น     อพฺภุคฺคจฺฉติ

            อภิ + อกฺขานํ          เป็น     อพฺภกฺขานํ

            แปลง อธิ เป็น อชฺฌ เช่น

            อธิ + อคมา            เป็น     อชฺฌคมา

            อธิ + โอกาโส        เป็น     อชฺโฌกาโส

    แปลง ของ อิธ ที่อยู่หลังจาก เอกํ เป็น เช่น

           เอกํ + อิธ + อหํ        เป็น  เอกมิทาหํ  (เปลี่ยนนิคหิต อํ เป็น สะกด แล้วแปลง อิธ เป็น )

– ถ้าสระหรือพยัญชนะข้างหลัง อาเทสพยัญชนะได้ ไม่จำกัด

            สาธุ + ทสฺสนํ  เป็น    สาหุ ทสฺสนํ     (ธ เป็น ห)

            สุคโท               เป็น     สุคโต             (ท เป็น ต)

            ทุกฺกตํ              เป็น     ทุกฺกฏํ            (ต เป็น ฏ)

            คนฺตพโพ         เป็น     คนฺธพฺโพ       (ต เป็น ธ)

            อตฺตโช             เป็น     อตฺรโช          (ต เป็น ร)

            กุลุปโค            เป็น     กุลุปโก          (ค เป็น ก)

            มหาสาโร         เป็น     มหาสาโล      (ร เป็น ล)

            ควโย                เป็น     ควโช             (ย เป็น ช)

            นิยโต               เป็น     นิยโก             (ต เป็น ก)

            ปนีตํ                 เป็น     ปณีตํ             (น เป็น ณ)

-ถ้าพยัญชนะอยู่ข้างหลัง อาเทสหรือแปลง อว เป็น โอ เช่น

            อว + นทฺธา    เป็น     โอนทฺธา 

3.อาคมะ ลงพยัญชนะใหม่ 9 ตัว คือ คฺ ยฺ วฺ มฺ ทฺ นฺ ตฺ รฺ ฬฺ

  คฺ อาคม  เช่น  ปา + เอว          เป็น     ปเคว

  ยฺ อาคม  เช่น   ยถา + อิทํ       เป็น     ยถยิทํ

  วฺ อาคม  เช่น   ติ + องฺคุลํ        เป็น     ติวงฺคุลํ

  มฺ อาคม  เช่น   ลหุ + เอสฺสติ   เป็น     ลหุเมสฺสติ

  ทฺ อาคม  เช่น  อุ + อคฺโค         เป็น     อุทคฺโค

  นฺ อาคม  เช่น  อิโต + อายติ    เป็น     อิโตนายติ

  ตฺ อาคม  เช่น  ยสฺมา + อิห      เป็น     ยสฺมาติห

  รฺ อาคม  เช่น    นิ + อนฺตรํ        เป็น     นิรนฺตรํ

  ฬฺ อาคม  เช่น  ฉ + อภิญฺญา    เป็น     ฉฬภิญฺญา

ในคัมภีร์สัททนีติว่า ลง อาคมได้บ้าง เช่น

  สุ + อุชุ          เป็น     สุหุชุ

  สุ + อุฏฺฐิตํ      เป็น     สุหุฏฺฐิตํ

4.ปกติ คงพยัญชนะไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่น

  สาธุ       เป็น     สาธุ

5.สัญโญคะ ซ้อนพยัญชนะใหม่ มี 2 วิธี คือ

-ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปเสมอเหมือนกัน เช่น

                   อิธ + ปโมทติ  เป็น     อิธปฺปโมทติ

                   อปมาโท          เป็น     อปฺปมาโท

                   วิปยุตโต          เป็น     วิปฺปยุตฺโต

-ซ้อนพยัญชนะต่างกันหรือมีรูปไม่เสมอเหมือนกัน เช่น

                   จตฺตาริ + ฐานานิ เป็น    จตฺตาริฏฺฐานานิ

                   ปฆรติ              เป็น     ปคฺฆรติ

                   ปฐมฌานํ        เป็น    ปฐมชฺฌานํ

                   ทุภิกฺขํ             เป็น    ทุพฺภิกฺขํ

พยัญชนะสนธิมีเพียงเท่านี้

ย้ำอีกทีว่าให้ดูตัวอย่างให้มากๆ  ข้อสอบออกตามนี้แหละครับ!!!