นิคหิตสนธิ

เรื่องสุดท้ายแล้วสำหรับสนธิแล้วครับ

คืออะไร? และใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ไปดูกันเลยจ้ะ

ดูตารางประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นนะจ๊ะ

นิคหิตสนธิ คือการเชื่อมคำระหว่างนิคหิตกับสระ หรือกับพยัญชนะ มี 4 วิธี คือ โลปะ อาเทสะ อาคมะ ปกติ

1) โลปะ ลบนิคหิต เมื่อสระหรือพยัญชนะอยู่หลัง ให้ลบนิคหิตข้างหน้า เช่น

ตาสํ + อหํ                     เป็น     ตาสาหํ

อริยสจฺจานํ + ทสฺสนํ  เป็น     อริยสจฺจานทสฺสนํ

พุทฺธานํ + สาสนํ          เป็น     พุทฺธานสาสนํ

2) อาคมะ ลงนิคหิตใหม่ สระหรือพยัญชนะอยู่ข้างหลัง ลงนิคหิตอาคมได้บ้าง เช่น

จกฺขุ + อุทปาทิ           เป็น     จกฺขุํ อุทปาทิ

อวสิโร                          เป็น     อวํสิโร

3) ปกติ คงนิคหิตไว้ตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่น

  1. ธมฺมํ จเร         เป็น     ธมฺมํ จเร

4) อาเทสะ แปลงนิคหิต มี 5 อย่าง คือ

– ถ้ามีพยัญชนะวรรคข้างหลัง แปลงนิคหิตเป็นพยัญชนะที่สุดวรรคบ้าง เช่น

เอวํ + โข            เป็น     เอวงฺโข

ตํ + ชาตํ            เป็น     ตญฺชาตํ

ตํ + ฐานํ            เป็น     ตณฺฐานํ

ตํ + ตโนติ         เป็น     ตนฺตโนติ

ตํ + ผลํ              เป็น     ตมฺผลํ

-ถ้ามี เอ หรือ ข้างหลัง แปลงนิคหิตเป็น ญฺ เช่น

ตํ + เอว              เป็น     ตญฺเญว

ตํ + หิ                 เป็น     ตญฺหิ

-ถ้ามี ข้างหลัง แปลงนิคหิตกับ เป็น ญฺ แล้วซ้อน ญฺ เช่น

สํ + โยโค           เป็น     สญฺโญโค

สํ + โยชนํ          เป็น     สญฺโญชนํ

-ในสัททนีติปกรณ์ว่า ถ้า อยู่ข้างหลัง แปลงนิคหิตเป็น ลฺ เช่น

ปุ + ลิงฺคํ             เป็น     ปุลฺลิงฺคํ

สํ + ลกฺขณา      เป็น     สลฺลกฺขณา

 –ถ้าสระอยู่ข้างหลัง ให้แปลงนิคหิตเป็น มฺ และ ทฺ เช่น

ตํ + อหํ              เป็น     ตมหํ

ยํ + อนิจฺจํ         เป็น     ยทนิจฺจํ

 

 จบแล้วสำหรับเรื่องสนธิ หวังว่าจะไม่เบื่อกันก่อนนะครับ

เรื่องสนธิในข้อสอบนั้น มีความละเอียดและค่อนข้างเน้นหลักการสนธิ ฉะนั้น ต้องจดจำหลักการต่างๆ ในการสนธิ ทั้งสระสนธิ พยัญชนะสนธิ และนิคคหิตสนธิให้ดี โดยเฉพาะตัวอย่างที่ให้ไว้

ข้อสอบมักถามถึงชื่อสนธิบ้าง ให้ประกอบสนธิบ้าง หรือให้แยกรูปสนธิ เป็นต้น

ถ้าทำตามนี้ รับรองคะแนนเต็มไม่หนีไปไหน!!!