การแจกวิภัตติ อ การันต์

เรื่องนี้ยาวครับบอกไว้ก่อน แต่เป็นเรื่องที่สำคัญ ทำความเข้าใจให้ดี

เมื่อแจกวิภัตติแบบ อ การันต์ ได้แล้ว การันต์อื่นๆ รับรองว่าง่ายมาก มาลองดูกันครับ

การแจกวิภัตตินามศัพท์คือการนำรูปวิภัตติไปต่อท้ายคำนามดังที่กล่าวแล้ว เมื่อคำนามประกอบกับวิภัตติจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการันต์และลิงค์นั้นๆ ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการแจกวิภัตติการันต์ต่างๆ ดูภาพประกอบเลยจ้ะ

เมื่อรู้หลักการแจกวิภัตติแล้ว เรามาดูกันเลยว่า อ การันต์ เมื่อแจกวิภัตติแล้วจะมีรูปเป็นอย่างไรบ้าง

ตัวอย่างที่ 1

การแจกวิภัตติ อ การันต์ (ปุงลิงค์)

ปุริส (บุรุษ)

จาก ตัวอย่างที่ 1 จะเห็นว่าคำนามคือ ปุริส (บุรุษ) เมื่อนำไปประกอบกับวิภัตติแล้วจะมีรูปเปลี่ยนแปลงไปหลายรูป แต่ละรูปก็จะมีความหมายแตกต่างกันด้วย (ดูอายตนิบาตประกอบ) อย่างนี้เรียกว่าการแจกวิภัตติ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น ดูคำอธิบายการประกอบวิภัตติต่อไปนี้

  • เมื่อประกอบด้วยปฐมาวิภัตติ แปลว่า อันว่า (อ.) ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค เช่น

ปุริโส     อันว่าบุรุษ (อ.บุรุษ)

ปุริสา     อันว่าบุรุษทั้งหลาย (อ.บุรุษ ท.)

ตัวอย่างประโยค

อาจริโย  กเถติ             อาจารย์ ย่อมกล่าว

อาจริยา  กเถนฺติ           อาจารย์ ท. ย่อมกล่าว

  • เมื่อประกอบด้วยทุติยาวิภัตติ แปลว่า ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ ทำหน้าที่เป็นกรรม เช่น

ปุริสํ       (ซึ่งบุรุษ, สู่บุรุษ, ยังบุรุษ, สิ้นบุรุษ ฯลฯ)

ปุริเส      (ซึ่งบุรุษ ท., สู่บุรุษ ท., ยังบุรุษ ท. ฯลฯ)

ตัวอย่างประโยค

อาจริโย สิสฺสํ กเถติ      อาจารย์ ย่อมกล่าว กะศิษย์

อาจริยา สิสฺเส กเถนฺติ   อาจารย์ ท. ย่อมกล่าว กะศิษย์ ท.

  • เมื่อประกอบด้วยตติยาวิภัตติ แปลว่า ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ เช่น

ปุริเสน  (ด้วยบุรุษ, โดยบุรุษ, ตามบุรุษ ฯลฯ)

        ปุริเสหิ, ปุริเสภิ     (ด้วยบุรุษ ท., โดยบุรุษ ท. ฯลฯ)

ตัวอย่างประโยค

อาจริโย  สิสฺเสน สทฺธึ  กเถติ  อาจารย์ ย่อมกล่าว กับด้วยศิษย์

อาจริยา  สิสฺเสหิ สทฺธึ วสนฺติ  อาจารย์ ท. ย่อมอยู่ กับด้วยศิษย์ ท.

ข้อสังเกต: ตติยาวิภัตติ มักใช้คู่กับอัพยยศัพท์ “สทฺธึ” (กับ, พร้อม, พร้อมด้วย)

  • เมื่อประกอบด้วยจตุตถีวิภัตติ แปลว่า แก่, เพื่อ, ต่อ ทำหน้าที่เป็นผู้รับผลการกระทำ เช่น

ปุริสสฺส, ปุริสาย, ปุริสตฺถํ  (แก่บุรุษ, เพื่อบุรุษ, ต่อบุรุษ)

        ปุริสานํ  (แก่บุรุษ ท., เพื่อบุรุษ ท.ฯลฯ)

ตัวอย่างประโยค

ยาจโก  โอทนสฺส  ยาจติ         ขอทาน ย่อมขอ เพื่อข้าวสุก

วาณิโช  ยาจกานํ  เทติ           พ่อค้า ย่อมให้ แก่ขอทาน ท.

  • เมื่อประกอบด้วยปัญจมีวิภัตติ แปลว่า แต่, จาก, กว่า, เหตุ ทำหน้าที่เป็นแดนหรือเหตุของการกระทำ เช่น

ปุริสสฺมา, ปุริสมฺหา, ปุริสา (แต่บุรุษ, จากบุรุษ ฯลฯ)

ปุริเสหิ, ปุริเสภิ     (แต่บุรุษ ท., จากบุรุษ ท. ฯลฯ)

ตัวอย่างประโยค

ปุตฺโต  คามสฺมา  คจฺฉติ       ลูกชาย ย่อมไป จากหมู่บ้าน

สิสฺสา  อาจริเยหิ  ยาจนฺติ    ศิษย์ ท. ย่อมขอ จากอาจารย์ ท.

  • เมื่อประกอบด้วยฉัฏฐีวิภัตติ แปลว่า แห่ง, ของ, เมื่อ ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ เช่น

ปุริสสฺส  (แห่งบุรุษ, ของบุรุษ, เมื่อบุรุษ)

        ปุริสานํ  (แห่งบุรุษ ท., ของบุรุษ ท., เมื่อบุรุษ ท.)

ตัวอย่างประโยค

พุทฺธสฺส  สาวโก  ปสฺสติ       สาวก ของพระพุทธเจ้า ย่อมเห็น

วาณิชานํ  ปุตฺตํ  ปสฺสามิ       ข้าพเจ้า ย่อมเห็น ซึ่งลูกชาย ของพ่อค้า ท.

ข้อสังเกต: ฉัฏฐีวิภัตติ แสดงความเป็นเจ้าของ มักจะวางไว้หน้าคำที่มันขยาย

  • เมื่อประกอบด้วยสัตตมีวิภัตติ แปลว่า ใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ, เหนือ, บน ทำหน้าที่เป็นสถานที่ทำ เช่น

ปุริสสฺมึ, ปุริสมฺหิ, ปุริเส       (ในบุรุษ, ใกล้บุรุษ, ที่บุรุษ ฯลฯ)

        ปุริเสสุ    (ในบุรุษ ท., ใกล้บุรุษ ท., ที่บุรุษ ท. ฯลฯ)

ตัวอย่างประโยค

วานรา  รุกฺเข  วสนฺติ          ลิง ท. ย่อมอยู่ บนต้นไม้

วาณิโช  คาเมสุ  ชีวติ        พ่อค้า ย่อมเป็นอยู่ ในหมู่บ้าน ท.

  • เมื่อประกอบด้วยอาลปนวิภัตติ แปลว่า แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่ ทำหน้าที่เป็นคำทักทาย เช่น

ปุริส  (แน่ะบุรุษ, ดูก่อนบุรุษ, ข้าแต่บุรุษ)

         ปุริสา  (แน่ะบุรุษ ท., ดูก่อนบุรุษ ท., ข้าแต่บุรุษ ท.)

ตัวอย่างประโยค

วาณิช,  ยาจโก  ยาจติ                    ดูก่อนพ่อค้า, ขอทาน ย่อมขอ

อาจริยา, พุทฺโธ  ธมฺมํ  เทเสติ          ข้าแต่อาจารย์ ท., พระพุทธเจ้า ย่อมแสดง ซึ่งธรรม

เมื่อเข้าใจวิธีการแจกวิภัตติ อ การันต์ ปุงลิงค์แล้ว การแจกวิภัตติการันต์อื่นๆ และลิงค์อื่นๆ ก็ใช้หลักการเดียวกัน เพียงแต่มีรูปที่แตกต่างกันเท่านั้น

ให้น้องๆ จำตัวอย่างการแจกวิภัตติของแต่ละการันต์ไว้ให้ดี เพราะจะช่วยให้เราแจกวิภัตติคำศัพท์อื่นๆ ต่อไปได้ วิธีง่ายๆ คือการเลียนแบบตัวอย่างการแจกวิภัตติแต่ละการันต์นั่นเอง

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาฝึกแจกวิภัตติ อ การันต์ ปุงลิงค์กันเถอะ

อ การันต์ ปุงลิงค์

ขตฺติย (กษัตริย์)           คาม (หมู่บ้าน)            โจร (โจร)

ปพฺพต (ภูเขา)              ปุตฺต (ลูกชาย, บุตร)   พุทฺธ (พระพุทธเจ้า)

ยาจก (ขอทาน)            รุกฺข (ต้นไม้)               โลก (โลก)

วาณิช (พ่อค้า)             วานร (ลิง)                    สกุณ (นก)

สคฺค (สวรรค์)               สาวก (สาวก)               สิสฺส (ศิษย์)

สูท (พ่อครัว)                สหายก (เพื่อน)           สามิก (สามี)

หตฺถ (มือ)                     อากาส (อากาศ)         อาจริย (อาจารย์)

โอทน (ข้าวสุก)            อาวาส (วัด)                 ทารก (เด็กชาย)

นร (คน)                        มาตุล (ลุง)                  ธมฺม (พระธรรม)

 มาดูอีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็น อ การันต์ เหมือนกัน แต่เป็นนปุงสกลิงค์

ตัวอย่างที่ 2 

อ การันต์ (นปุงสกลิงค์)

กุล (ตระกูล)

การแจกวิภัตติตัวอย่างที่ 2 ก็เหมือนกับตัวอย่างแรกเลยครับ ต่างกันนิดหน่อยเอง คือตัวสีแดงๆ นั่นแหละ

ถ้าแจกอันแรกได้รับรองตัวนี้ง่ายมากๆ ใช่ไหม มาฝึกแจกวิภัตติกันต่อเลย

อ การันต์ นปุงสกลิงค์

กมล (ดอกบัว)              กมฺม (งาน, กรรม)     ฆร (เรือน)

จกฺก (ล้อ, จักร)            ชล (น้ำ)                     ธน (ทรัพย์)

นคร (เมือง)                  ปุปฺผ (ดอกไม้)           ผล (ผลไม้)     

พล (กำลัง, พล)           ภตฺต (ข้าวสวย)          มชฺช (น้ำเมา)  

ทุกฺข (ทุกข์)                 วตฺถ (ผ้า)                   สกฏ (เกวียน)  

สีล (ศีล)                       สุข (ความสุข)           ปณฺณ (ใบไม้, หนังสือ)

เอาเป็นว่าตอนนี้พอแค่นี้ก่อน กลับไปทบทวนเรื่องการแจกวิภัตติ อ การันต์ให้ดีนะครับ

ย้ำ!!! ว่า อ การันต์ มี 2 ลิงค์เท่านั้น คือปุงลิงค์ (เพศชาย) กับนุปงสกลิงค์ (เพศกลาง)

แล้วพบกันใหม่การันต์ต่อไปครับ!!!