การแจกวิภัตติ อู การันต์

และแล้ว…ก็มาถึงการแจกวิภัตติการันต์สุดท้ายจนได้ อู การันต์นั่นเอง มีแค่ 2 ลิงค์ ไม่มีนปุงสกลิงค์จ้า

สังเกตให้ดีมันแทบจะเหมือน อุ การันต์เลยแหละ อย่าเสียเวลา แจกวิภัตติกันเลยดีกว่า

ตัวอย่างที่ 12 

อู การันต์ (ปุงลิงค์)

วิญฺญู (ผู้รู้, วิญญูชน)

ตัวอย่างที่ 13

อู การันต์ (อิตถีลิงค์)

วธู (หญิงสาว)

เป็นไงบ้างครับ ง่ายไหม  จำไว้ว่าเหมือนกันแทบจะทั้งหมดเลยกับ อุ การันต์

สำหรับการแจกวิภัตตินามศัพท์ก็มีเท่านี้แหละครับ

ทวนกันอีกรอบคือมีการันต์ อ อา อิ อี อุ และก็ อู  การันต์ไหนมีลิงค์อะไรบ้างไม่น่าจะยากเนาะ

เอาเป้นว่าฝึกแจกวิภัตติกันดีกว่า

อู การันต์ ปุงลิงค์

กตญฺญู (ผู้รู้บุญคุณ)         ปารคู (ผู้ถึงฝั่ง)             เวทคู (ผู้ถึงพระเวท)

สยมฺภู (ผู้เป็นเอง)            อทฺธคู (ผู้เดินทาง)        อภิภู (ผู้เป็นยิ่ง)

มตฺตญฺญู(ผู้รู้ประมาณ)      สพฺพญฺญู (ผู้รู้ทุกอย่าง)

อู การันต์ อิตถีลิงค์

ภู (แผ่นดิน)                     ชมฺพู (ไม้หว้า)               จมู (เสนา, กองทัพ)

วิรู (เถาวัลย์)                    สรพู (ตุ๊กแก)                 สินฺธู (แม่น้ำสินธู)

ย้ำกันอีกซักรอบเกี่ยวกับข้อสอบ

เรื่องนามนามนั้นมีรายละเอียดค่อนข้างมาก โดยส่วนใหญ่มักถามถึง วิภัตติ ลิงค์ สาธารณนาม หรืออสาธารณนาม เป็นต้น ดังนั้น สิ่งที่ควรสังเกตและจำให้ได้คือการแจกวิภัตตินามศัพท์ในเพศหรือลิงค์ต่างๆ และควรจำความหมายประจำวิภัตติทั้ง 8 วิภัตติ และหลักการเปลี่ยนรูปวิภัตติในแต่ละลิงค์ ได้แค่นี้รับรองทำได้หมดแน่นอน