คุณศัพท์

ในภาษาบาลีเรียกว่า คุณนาม เป็นคำขยายนามนามหรือแสดงลักษณะของนามนาม เพื่อให้รู้ว่านามนามนั้นมีลักษณะอย่างไร เช่น อ้วน ผอม สูง ต่ำ ดำ ขาว ดี ชั่ว เป็นต้น หรือถ้าจะให้เข้าใจง่ายขึ้นคุณศัพท์ก็เปรียบได้กับ Adjective ในภาษาอังกฤษ ทำหน้าที่ขยายคำนามนั่นเอง คุณศัพท์หรือคุณนามในภาษาบาลีแบ่งออกเป็น 3 ขั้นคือ ขั้นปกติ ขั้นวิเสส และขั้นอติวิเสส

  • คุณนามขั้นปกติ ได้แก่ คำคุณนามที่แสดงลักษณะทั่วๆ ไป เช่น ปาป (เป็นบาป), ทกฺข (ขยัน), สุนฺทร (ดี), ถูล (อ้วน) กีส (ผอม) เป็นต้น
  • คุณนามขั้นวิเสส ได้แก่ คำคุณนามที่แสดงลักษณะขั้นกว่า โดยใช้ ตร, อิย และอุปสรรค อติ เช่น ปาปตร (บาปกว่า) ปณฺฑิตตร (เป็นบัณฑิตกว่า)  หีนตร (เลวกว่า) ปณีตตร (ประณีตกว่า) ปาปิย (บาปกว่า)  กนิย (น้อยกว่า)  เสยฺย (ประเสริฐกว่า)  เชยฺย (เจริญกว่า) อติปาป (บาปยิ่ง)  อติสุนฺทร (งามยิ่ง)  อติลามก (ลามกยิ่ง)  อตินีจ (ต่ำยิ่ง)
  • คุณนามขั้นอติวิเสส ได้แก่ คำคุณนามที่แสดงลักษณะขั้นที่สุด โดยใช้ ตม, อิฏฺฐ และอุปสรรค อติวิย เช่น ปาปตม (บาปที่สุด) ปณฺฑิตตม (เป็นบัณฑิตที่สุด) หีนตม (เลวที่สุด) ปณีตตม (ประณีตสุด) ปาปิฏฺฐ (บาปที่สุด)  กนิฏฺฐ (น้อยที่สุด)  เสฏฺฐ (ประเสริฐที่สุด) เชฏฺฐ (เจริญที่สุด)   อติวิยปาป (บาปเกินเปรียบ)  อติวิยสุนฺทร (งามเกินเปรียบ) อติวิยลามก (ลามกเกินเปรียบ)

คุณศัพท์ไม่มีเพศ เมื่อนำไปแจกวิภัตติจะแจกตามเพศของคำนามที่ไปขยาย โดยทั่วไปคุณศัพท์จะลงท้ายด้วย อ (มีบ้างที่ลงท้ายด้วยสระอื่น)

เมื่อขยายคำนามปุงลิงค์ การันต์อะไรก็แล้วแต่ คุณศัพท์จะแจกแบบ อ การันต์ ปุงลิงค์เท่านั้น ถ้าขยายนปุงสกลิงค์ การันต์อะไรก็แล้วแต่ จะแจกตามแบบ อ การันต์ นปุงสกลิงค์เท่านั้น ถ้าขยายอิตถีลิงค์ การันต์อะไรก็แล้วแต่ จะแจกตามแบบ อา การันต์ อิตถีลิงค์เท่านั้น

พูดง่ายๆ คือในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ให้ยึด อ การันต์ เป็นหลัก อิตถีลิงค์ให้ยึด อา การันต์ เป็นหลัก

คุณศัพท์เมื่อขยายคำนามวิภัตติ วจนะ อะไร ก็ต้องประกอบให้มีวิภัตติและวจนะตรงกับคำนามที่ไปขยายนั้น ตัวอย่างการแจกวิภัตติคุณศัพท์มีดังต่อไปนี้

คุณศัพท์ขยายปุงลิงค์

อ การันต์

อิ การันต์

คุณศัพท์ขยายนปุงสกลิงค์

อ การันต์

อิ การันต์

คุณศัพท์ขยายอิตถีลิงค์

อา การันต์

อิ การันต์

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเวลาคุณศัพท์ไปขยายคำนาม

ก็ต้องประกอบให้ตรงวิภัตติ วจนะ เหมือนกับคำนาม

ส่วนการันต์อื่นๆ ก็เพียงเปรียบเทียบจากตัวอย่างนี้นะครับ

เราลองมาดูซิว่าคำคุณศัพท์มีอะไรบ้าง คุ้นๆ กันบ้างไหม

 

คำคุณศัพท์บางตัว

ทกฺข (ขยัน)                อุจฺจ (สูง)                    นีจ (ต่ำ)

กาฬ (ดำ)                  เสต (ขาว)                    ทีฆ (ยาว)

รสฺส (สั้น)                  คมฺภีร (ลึก)                   อุตฺตาน (ตื้น)

สูร (กล้า)                   ถูล (อ้วน)                     กีส (ผอม)

จณฺฑ (ดุร้าย)              ถิร (มั่นคง)                  กุสล (ดี, ฉลาด)

ปาป (บาป, ชั่ว)          มหนฺต (ใหญ่)               วร (ประเสริฐ)

สุวจ (ว่าง่าย)             สุนฺทร (สวย, งาม)         นาถ (ที่พึ่ง)

สุคนฺธ (กลิ่นหอม)     ทสฺสนีย (น่าดู, น่ารัก)    มธุร (อร่อย, ไพเราะ)