สรรพนาม

หมายถึง คำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซาก ช่วยให้ภาษากระชับ สละสลวย ภาษาบาลีแบ่งสรรพนามออกเป็น 2 ชนิดคือ ปุริสสรรพนาม และ วิเสสนสรรพนาม

  • ปุริสสรรพนาม คือศัพท์สำหรับใช้แทนชื่อคน สัตว์ และสิ่งของที่กล่าวถึงแล้ว เหมือนกับคำสรรพนามในภาษาไทย นับตามบุรุษแบ่งออกเป็น 3 ชนิดหรือ 3 บุรุษ คือ

  • สรรพนามประถมบุรุษ (สรรพนามบุรุษที่ 3 ในภาษาไทย) หมายถึง ผู้ที่ถูกกล่าวถึง ไม่ได้อยู่ในวงสนทนาด้วย ภาษาบาลีใช้ศัพท์ แปลว่า เขา, เธอ, มัน
  • สรรพนามมัธยมบุรุษ (สรรพนามบุรุษที่ 2 ในภาษาไทย) หมายถึง ผู้ฟัง ผู้ที่สนทนาด้วย ใช้ศัพท์ ตุมฺห แปลว่า ท่าน, คุณ
  • สรรพนามอุตตมบุรุษ (สรรพนามบุรุษที่ 1 ในภาษาไทย) หมายถึงผู้พูดเอง ใช้ศัพท์ อมฺห แปลว่า ข้าพเจ้า, ฉัน, เรา
  • วิเสสนสรรพนาม คือนามที่ใช้แทนสิ่งทั้งปวง โดยทำหน้าที่ขยายความ ทำหน้าที่คล้ายกับคุณศัพท์ แต่มีวิธีการแจกวิภัตติต่างกัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
  • นิยมวิเสสนสรรพนาม คือ สรรพนามที่บอกความแน่นอน โดยระบุลงไปชัดเจนลงไป เช่น (นั้น), เอต (นั่น), อิม (นี้), อมุ (โน้น) เป็นต้น
  • อนิยมวิเสสนสรรพนาม คือ สรรพนามที่บอกความไม่แน่นอน ไม่ระบุชัดเจน มี 12 ศัพท์ ได้แก่ (ใด), อญฺญ (อื่น), อญฺญตร (คนใดคนหนึ่ง), อญฺญตม (คนใด คนหนึ่ง), ปร (อื่น), อปร (อื่นอีก), กตร (คนไหน), กตม (คนไหน), เอก (คนหนึ่ง), เอกจฺจ (บางคน, บางพวก), สพฺพ (ทั้งปวง), กึ (อะไร) เป็นต้น

การแจกวิภัตติปุริสสรรพนาม

ต ศัพท์ (เขา)  

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกอย่างนี้

ข้อสังเกต:

  • การแจกวิภัตติสรรพนามมีเพียง 7 วิภัตติเท่านั้น (ไม่มีอาลปน)
  • ปุงลิงค์ และนปุงสกลิงค์ ต่างกันเพียงวิภัตติที่ 1, 2 (สีแดง) เท่านั้น
  • นปุงสกลิงค์คือคำที่อยู่ในวงเล็บ ( ) ของ ปฐมา. และ ทุติยา. ที่เหลือแจกเหมือนกัน

ตุมฺห ศัพท์ (ท่าน)  

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกอย่างนี้

อมฺห ศัพท์ (เรา)  

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกอย่างนี้

ทั้งหมดนี้เป็นการแจกปุริสสรรพนาม

วิธีการใช้ก็เหมือนกับคำนามทั่วไปคือ ถ้าเป็นวิภัตติที่ 1 ก็แปลว่า อันว่า..

วิภัตติที่ 2 ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น … เหมือนกับคำนามทุกประการ

ต่างกันเพียงการแจกวิภัตติ ตุมฺห กับ อมฺห ใช้รูปเดียวกันไม่แยกเพศ

ส่วน ศัพท์ แต่ละเพศใช้ต่างกัน และก็เป็นได้ทั้งปุริสสรรพนาม และวิเสสนสรรพนาม

การใช้ ต ศัพท์

ต ศัพท์ เป็นได้ทั้งสรรพนามและคุณนาม มีวิธีการใช้ดังนี้

  1. ใช้เป็น “ปุริสสรรพนาม” หรือเป็นนามนาม โดยการแทนชื่อบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่ที่กล่าวถึง แปลเหมือนกับคำนามทั่วไป แปลว่า เขา เช่น

วาณิโช  มคฺเค  ยาจกํ  ปสฺสติ, โส  ตสฺส  ทานํ  เทติ.

พ่อค้า ย่อมเห็น ซึ่งขอทาน ในหนทาง, เขา (พ่อค้า) ย่อมให้ ซึ่งทาน แก่เขา (ขอทาน)

สามเณโร อาวาสํ อาคจฺฉติ, โส ธมฺมํ เทเสติ.

สามเณร มาอยู่ สู่วัด, เขา (สามเณร) ย่อมแสดง ซึ่งธรรม

  1. ใช้เป็น “นิยมวิเสสนสรรพนาม” หรือคุณนาม (คุณศัพท์) โดยวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย ประกอบด้วยลิงค์ วจนะ วิภัตติเดียวกันกับคำนามที่ไปขยาย ถ้าขยายเอกวจนะแปลว่า “นั้น” ถ้าขยายพหุวจนะแปลว่า “เหล่านั้น” เช่น

โส เถโร เตสํ อุปาสกานํ ธมฺมํ เทเสติ.

         พระเถระ นั้น ย่อมแสดง ซึ่งธรรม แก่อุบาสก ท. เหล่านั้น

         เต สิสฺสา ตํ อาจริยํ วนฺทึสุ.

         ศิษย์ ท. เหล่านั้น ไหว้แล้ว ซึ่งอาจารย์ นั้น