การแจกวิภัตติวิเสสนสรรพนาม

ต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่เป็นเรื่องปุริสสรรพนามนะครับ

ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง วิเสสนสรรพนามมี 2 ส่วนคือ นิยม กับ อนิยม

ซึ่งทั้ง 2 ส่วนก็มีการแจกวิภัตติเช่นเดียวกัน มีรายละเอียดต่อไปนี้

นิยมวิเสสนสรรพนาม

มีวิธีการแจกเหมือนกับคำนามทั่วไป โดยใช้รูปวิภัตติมาประกอบท้ายคำสรรพนามที่ต้องการ ต่างกันแค่คำสรรพนามสามารถเป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์ โดยมีการแจกวิภัตติแตกต่างกันไปตามลิงค์นั้นๆ ตัวอย่างการแจกนิยมวิเสสนสรรพนามมีดังนี้

ต ศัพท์ (นั้น)

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกอย่างนี้

เอต ศัพท์ (นั่น)

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกอย่างนี้

อิม ศัพท์ (นี้)

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกอย่างนี้

อมุ ศัพท์ (โน้น)

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกอย่างนี้

 

อนิยมวิเสสนสรรพนาม

การแจกอนิยมวิเสสนสรรพนาม ทั้ง 12 ศัพท์ มีวิธีการแจกเหมือนกับนิยมวิเสสนสรรพนามทุกประการ

จะมีพิเศษหน่อยก็ กึ ศัพท์ ที่มีการใช้พิเศษ มีตัวอย่างดังนี้

ย ศัพท์ (ใด)

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกอย่างนี้

กึ ศัพท์ (ใคร, อะไร)

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกอย่างนี้

ข้อสังเกต

  • ปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ แจกวิภัตติเหมือนกัน ต่างกันเพียงภัตติที่ 1, 2 (สีแดง) เท่านั้น
  • กึ ศัพท์ ในปุงลิงค์ แปลงเป็น แล้วแจกตามแบบ ศัพท์ ส่วนอิตถีลิงค์แปลงเป็น กา  แจกตามแบบ ศัพท์ อิตถีลิงค์

 

การใช้ กึ ศัพท์

กึ ศัพท์ เมื่อนำไปใช้ในประโยคมีวิธีการใช้ 5 วิธี ได้แก่

  • ใช้เป็นสรรพนาม กึ ศัพท์ จะวางไว้ตัวเดียว มีคำแปลเหมือนกับสรรพนามทั่วไป เช่น

โก ตว อุปชฺฌาโย (โหติ)    

ใคร เป็นอุปัชฌาย์ ของท่าน (ย่อมเป็น)

  • ใช้เป็นคุณศัพท์ กึ จะวางไว้หน้าคำนามที่มันขยาย เช่น

โก อุปาสโก ธมฺมํ สุณาติ   

อุบาสก ไร (ใคร) ย่อมฟัง ซึ่งธรรม

  • ใช้แบบมี จิ ต่อท้าย ซึ่งเป็นได้ทั้งสรรพนามและคุณนาม จะมีคำแปลแตกต่างออกไปเล็กน้อย หากเป็นเอกวจนะ แปลว่า “อะไรๆ, ใครๆ, ไรๆ, บางสิ่ง, บางอย่าง, บางคน” หากเป็นพหุวจนะ แปลว่า “บางอย่าง, บางเหล่า, บางพวก” เช่น

โกจิ มม ฆรํ น อาคจฺฉติ    

ใครๆ ย่อมไม่มา สู่เรือน ของข้าพเจ้า

กิญฺจิ (กึ+จิ) ธนํ ลภามิ      

ข้าพเจ้า ย่อมได้ ซึ่งทรัพย์ บางอย่าง

  • ใช้แบบมี จิ ต่อท้าย และ ย ศัพท์ด้วย ทำหน้าที่เป็นคุณนาม (คุณนาม 2 ตัว คือ กึ และ ย) ซึ่งทั้งสองจะต้องมีวิภัตติและวจนะอย่างเดียวกัน หากเป็นเอกวจนะ แปลว่า “อย่างใดอย่างหนึ่ง, สิ่งใดสิ่งหนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง” หากเป็นพหุวจนะ แปลว่า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง, พวกใดพวกหนึ่ง” เช่น

โย โกจิ เทโว มม เคเห อธิวสติ       

เทวดา ตนใดตนหนึ่ง ย่อมสถิต ที่เรือน ของเรา

  • ใช้เป็นกริยาวิเศษณ์ แปลว่า “หรือ, ทำไม, เพราะเหตุไร” มักวางไว้หน้าประโยค เช่น

กึ ตฺวํ ธมฺมํ สุณาสิ          

ท่าน ย่อมฟัง ซึ่งธรรม หรือ

กึ อาหารํ น ภุญฺชสิ         

ท่าน ย่อมไม่บริโภค ซึ่งอาหาร เพราะเหตุไร

ลองแจกวิภัตติศัพท์เหล่านี้กัน มีวิธีการเหมือน ศัพท์

อนิยมวิเสสนสรรพนาม

ปร (อื่น)                                      อปร (อื่นอีก)                                      

อญฺญ (อื่น)                                 อญฺญตร (คนใดคนหนึ่ง)  

อญฺญตม (คนใดคนหนึ่ง)            เอก (คนหนึ่ง, พวกหนึ่ง)

เอกจฺจ (บางคน, บางพวก)          อุภย (ทั้งสอง)

สพฺพ (ทั้งปวง)                           กึ (ใคร, อะไร)   

ย้ำอีกรอบ!!!

เรื่องสรรพนามนั้นข้อสอบมักจะถามเกี่ยวกับวิเสสนสรรพนาม น้องๆ ต้องแยกให้ได้ว่าเป็นสรรพนามชนิดใด ศัพท์ที่ออกบ่อยในเรื่องอนิยมวิเสสนสรรพนาม เช่น อญฺญ (อื่น), อญฺญตร (คนใดคนหนึ่ง), อญฺญตม (คนใดคนหนึ่ง), สพฺพ (ทั้งปวง),  กึ (อะไร) ส่วนนิยมวิเสสนสรรพนามก็มักจะถามเกี่ยวกับเรื่องระยะทาง ใกล้ ไกล เป็นต้น ทั้งนี้ ควรระวังการใช้ ศัพท์เพราะสามารถเป็นได้ทั้งปุริสสรรพนาม (สรรพนามประถมบุรุษ) และนิยมวิเสสนสรรพนาม (นั้น) ต้องดูบริบทของประโยคให้ดี