กติปยศัพท์

การแจกวิภัตติที่ผ่านมาจะเป็นเรื่องของคำนามที่ลงท้ายด้วยสระ หรือที่เราเรียกว่าการันต์นั่นเอง

ในภาษาบาลียังมีการแจกวิภัตติคำนามอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งต่างจากคำนามทั่วไป

แต่ศัพท์พวกนี้มีไม่เยอะจึงเรียกว่า กติปยศัพท์ หรือ ปกิณกศัพท์

กติปยศัพท์ หรือ ปกิณกศัพท์ คือ ศัพท์จำพวกหนึ่ง  ที่มีการแจกวิภัตติเป็นแบบเฉพาะตน ไม่แจกวิภัตติเหมือนคำนามทั่วไป เช่น ราช เป็น การันต์ ปุงลิงค์ โดยทั่วไปจะต้องแจกตามแบบ ปุริส แต่ศัพท์จำพวกนี้จะมีแบบแจกเฉพาะตนเอง ซึ่งศัพท์จำพวกนี้มีน้อยจึงเรียกว่า กติปยศัพท์  มีทั้งหมด 12 ศัพท์ ได้แก่

อตฺต (ตน) พฺรหม (พรหม) ราช (พระราชา) ภควนฺตุ (พระผู้มีพระภาคเจ้า) อรหนฺต (พระอรหันต์) ภวนฺต (ผู้เจริญ) สตฺถุ (ผู้สอน, พระศาสดา) ปิตุ (บิดา) มาตุ (มารดา) มน (ใจ) กมฺม (การงาน, กรรม) โค (โค)

มีวิธีการแจกวิภัตติดังนี้

ตัวอย่างที่ 1

อตฺต (ตน) ปุงลิงค์

 

ตัวอย่างที่ 2

พฺรหฺุม (พรหม) ปุงลิงค์

ตัวอย่างที่ 3

ราช (พระราชา) ปุงลิงค์

ตัวอย่างที่ 4

ภควนฺตุ (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ปุงลิงค์

ตัวอย่างที่ 5

อรหนฺต (พระอรหันต์) ปุงลิงค์

ตัวอย่างที่ 6

ภวนฺต (ผู้เจริญ) ปุงลิงค์

ตัวอย่างที่ 7

สตฺถุ (ผู้สอน, พระศาสดา) ปุงลิงค์

ตัวอย่างที่ 8

ปิตุ (พ่อ, บิดา) ปุงลิงค์

ตัวอย่างที่ 9

มาตุ (แม่, มารดา) อิตถีลิงค์

ตัวอย่างที่ 10

มน (ใจ) ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์

ตัวอย่างที่ 11

กมฺม (การงาน, กรรม) นปุงสกลิงค์

ตัวอย่างที่ 12

โค (โค) ปุงลิงค์

ตัวอย่างทั้ง 12 ข้างต้นคือกติปยศัพท์ทั้งหมด มีวิธีการแจกวิภัตติเฉพาะตน

ยังมีกลุ่มศัพท์ที่แจกเหมือน 12 ศัพท์ดังกล่าวด้วยนะ มีข้อสังเกตนิดหน่อยคือ

  • อตฺต ศัพท์เป็นเอกวจนะอย่างเดียว
  • มน ศัพท์ ปุงลิงค์ และนปุงสกลิงค์ ต่างกันเพียง วิภัตติที่ 1, 2, 8 เท่านั้น (ตัวหนาในวงเล็บ) จริงๆก็เหมือนกับคำนามทั่วไปนั่นแหละ ใช่ไหม?

มาดูกันว่าพวกที่แจกเหมือนกับ 12 ศัพท์ข้างต้นมีอะไรบ้าง

ศัพท์ที่แจกเหมือน ราช

มหาราช (มหาราช)                   อภิราช (พระราชายิ่ง)

อนุราช (พระราชาน้อย)            อุปราช (อุปราช)

สุปณฺณราช (ครุฑผู้พระราชา)     หํสราช (หงส์ผู้พระราชา)

นาคราช (นาคผู้พระราชา)          มิคราช (เนื้อผู้พระราชา)

เทวราช (เทวดาผู้พระราชา)       จกฺกวตฺติราช (พระราชาจักรพรรดิ)

ศัพท์ที่แจกเหมือน ภควนฺตุ

อายสฺมนฺตุ (คนมีอายุ)                จกฺขุมนฺตุ (คนมีจักษุ)

พนฺธุมนฺตุ (คนมีพวกพ้อง)           ธิตมนฺตุ (คนมีปัญญาตั้งมั่น)

ชุติมนฺตุ (คนมีความรุ่งเรือง)        สติมนฺตุ (คนมีสติ)

ธนวนฺตุ (คนมีทรัพย์)                 ปญฺญวนฺตุ (คนมีปัญญา)

ปุญฺญวนฺตุ (คนมีบุญ)                สีลวนฺตุ (คนมีศีล)

คุณวนฺตุ (คนมีคุณ)

ข้อสังเกต: ศัพท์เหล่านี้เป็นคุณศัพท์ เป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์ ในอิตถีลิงค์เปลี่ยน อุ เป็น อี เช่น คุณวนฺตี แจกตามแบบ นารี

ศัพท์ที่แจกเหมือน สตฺถุ

กตฺตุ (ผู้ทำ)                 วตฺตุ (ผู้กล่าว)                    ญาตุ (ผู้รู้)

โสตุ (ผู้ฟัง)                 ทาตุ (ผู้ให้)                       หนฺตุ (ผู้ฆ่า)

 

มโนคณะศัพท์ คือกลุ่มศัพท์ 12 ศัพท์ มี มน เป็นต้น มีวิธีแจกวิภัตติเหมือนกับ มน ศัพท์ ส่วนการแจกวิภัตตินั้นมีลักษณะเหมือนกับ อ การันต์ ปุงลิงค์ และนปุงสกลิงค์ เพียงแต่มีตัวที่เพิ่มเข้ามาเป็นพิเศษ เช่น สา โส สิ เป็นต้น

 มโนคณะศัพท์

มน (ใจ)                   อย (เหล็ก)                 อุร (เอก)

เจต (ใจ)                  เตช (เดช)                  ตป (ความร้อน)

ตม (มืด)                  ปย (น้ำนม)                วจ (วาจา)

วย (วัย)                   ยส (ยศ)                    สิร (หัว)

ศัพท์พิเศษ 6 ศัพท์ แจกเฉพาะบางวิภัตติ คือ  มฆวา, ปุมา, ยุวา, สขา, สา และ อทฺธา ใช้เฉพาะเอกวจนะ

  • มฆว (ชื่อพระอินทร์) ปุงลิงค์ ป. เอก.  มฆวา
  • ปุม (ชาย) ปุงลิงค์ ป. เอก. ปุมา
  • ยุว (ชายหนุ่ม) เป็นได้ 2 ลิงค์ (ทวิลิงค์) ในปุงลิงค์.

ป. เอก. ยุวา  อิตถีลิงค์ เป็น ยุวตี แจกตามแบบ นารี

  • สข (เพื่อน) เป็นได้ 2 ลิงค์ (ทวิลิงค์) ปุงลิงค์

ป. เอก. สขา  อิตถีลิงค์ เป็น สขี แจกตามแบบ นารี

  • สา (หมา) ปุงลิงค์ ป. เอก. สา ใช้ไม่เจาะจงว่าสุนัขตัวผู้หรือตัวเมีย ถ้าเป็นตัวผู้ใช้ สุนข ปุงลิงค์ แจกตามแบบ ปุริส  ตัวเมียใช้ สุนขี อิตถีลิงค์ แจกตามแบบ นารี
  • อทฺธา (กาลยาวนาน, หนทางไกล) ปุงลิงค์ เอก. บางวิภัตติ ดังนี้ ป. อทฺธา ทุ. อทฺธานํ ต. อทฺธุนา จ. ฉ. อทฺธุโน ส. อทฺธาเน

 เป็นไงบ้างครับ สำหรับกติปยศัพท์ แจกไม่ยากเลยใช่ไหม 🙂

มันคือกลุ่มศัพท์พิเศษ ง่ายๆคือต้องจำนั่นแหละ 

กติปยศัพท์มักนิยมออกเป็นคำถามตรงๆ ไม่เน้นพลิกแพลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องมโนคณะศัพท์ น้องๆ ควรจำการแจกวิภัตติของกติปยศัพท์หลักทั้ง 12 ศัพท์ไว้ให้ดี จะช่วยให้สามารถทำคะแนนในส่วนนี้อย่างง่ายดาย