ปกติสังขยา

เมื่อจะนำปกติสังขยาไปใช้ในประโยค ต้องทำการแจกวิภัตติก่อน

ปกติสังขยาในประโยคจะทำหน้าที่แตกต่างกัน เป็นประธานบ้าง ขยายคำนามบ้าง

เมื่อขยายคำนามจะต้องมีลิงค์ วจนะ วิภัตติเดียวกับคำนามที่ไปขยาย

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับวจนะนิดเดียวคือ เอก (หนึ่ง) เป็นเอกวจนะอย่างเดียว

ส่วนจำนวนที่เหลือเป็นพหุวจนะ ฉะนั้น คำนามที่มันไปขยายจะต้องมีวจนะเดียวกัน จำให้แม่น

การแจกวิภัตติปกติสังขยามีดังนี้

เอก (หนึ่ง) 

ทั้ง 3 ลิงค์  (เป็นเอกวจนะอย่างเดียว)

ทฺวิ (สอง),  อุภ (ทั้งสอง)

 ทั้ง 3 ลิงค์ แจกแบบเดียวกัน

ติ (สาม) 

ทั้ง 3 ลิงค์

จตุ (สี่) 

ทั้ง 3 ลิงค์ 

ปญฺจ (ห้า)

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกแบบเดียวกัน 

เอกูนวีส (สิบเก้า)

ทั้ง 3 ลิงค์ แจกแบบเดียวกัน

การแจกวิภัตติปกติสังขยาก็มีประมาณนี้ครับ

มาดูตัวอย่างกันดีกว่าว่าถ้านำไปใช้ในประโยคจะเป็นยังไง

เทฺว  ปุริสา  สาลายํ  นิสีทนฺติ     

บุรุษ ท. สองคน ย่อมนั่ง ในศาลา

กญฺญาโย  เทฺว  ปุริเส  ปสฺสึสุ       

สาวน้อย ท. เห็นแล้ว ซึ่งบุรุษ ท. สองคน

เวชฺโช ทวินฺนํ คิลานานํ เภสชฺชํ เทติ 

หมอ ย่อมให้ ซึ่งยา แก่คนไข้ ท. สองคน

ตโย  สกุณา  สาขายํ  นิสีทึสุ           

นก ท. สามตัว จับแล้ว ที่กิ่งไม้

 ติสฺโส  กญฺญา  ปุปฺผานิ  ลภึสุ     

สาวน้อย ท. สามคน ได้แล้ว ซึ่งดอกไม้ ท.

ติณฺณํ  สุนขานํ  อฏฺฐีนิ  เทมิ            

เรา ย่อมให้ ซึ่งกระดูก ท. แก่สุนัข ท. สามตัว

ปติ  ติสฺสนฺนํ  ภริยานํ  ธนานิ  เทติ          

สามี  ย่อมให้ ซึ่งทรัพย์ ท. แก่ภรรยา ท. สามคน

พุทฺโธ  จตฺตาริ  อริยสจฺจานิ  พุชฺฌติ 

พระพุทธเจ้า ย่อมตรัสรู้ ซึ่งอริยสัจ ท. สี่

ปญฺจ  สีลานิ  ยาจาม           

ข้าพเจ้า ท. ย่อมขอ ซึ่งศีล ท. ห้าข้อ

ส่วนเรื่องรายละเอียดว่าจำนวนอะไรแจกแบบไหน มีดังนี้

หลักการใช้สังขยา

  • ตั้งแต่ 6-18 (ฉ – อฏฺฐารส) ให้แจกตามแบบ ปญฺจ
  • ตั้งแต่ 19-98 (เอกูนวีสติ – อฏฺฐนวุติ) เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว มีวิธีการแจก ดังนี้

– ถ้าลงท้ายด้วย อิ  ให้แจกตามแบบ อิ การันต์ อิตถีลิงค์  เอกวจนะอย่างเดียว

– ถ้าลงท้ายด้วย อี  ให้แจกตามแบบ อี การันต์ อิตถีลิงค์  เอกวจนะอย่างเดียว

– ถ้าลงท้ายด้วย อ  ให้แจกตามแบบ เอกูนวีส

  • ตั้งแต่ 19-98 (เอกูนวีสติ – อฏฺฐนวุติ) ใช้เป็นคุณนาม ทำหน้าที่ขยายคำนามนาม โดยการแจกวิภัตติให้ตรงกันกับคำนามนามที่ไปขยาย แต่แจกเป็น อิตถีลิงค์ เอกวจนะอย่างเดียว แม้ว่าคำนามนามนั้นจะเป็นพหุวจนะก็ตาม เช่น

เตวีสติยา ทารกานํ อาจริโย อาคจฺฉติ  

อาจารย์ ของเด็กชาย ท. 23 คน ย่อมมา

เอกูนวีสติ กญฺญา นหานาย คจฺฉนฺติ   

สาวน้อย ท. 19 คน ย่อมไป เพื่ออาบน้ำ

ปญฺจทส  ยาจเก ปสฺสามิ            

ข้าพเจ้า ย่อมเห็น ซึ่งขอทาน ท. 15 คน

  • ตั้งแต่ 99 (เอกูนสต) ขึ้นไป แจกตามแบบ อ การันต์ นปุงสกลิงค์
  • โกฏิ แจกตามแบบ อิ การันต์ อิตถีลิงค์

การใช้สังขยาอีกแบบหนึ่ง

  • สังขยาแบบที่ไม่ใช้เป็นคุณนามมี 2 วิธีคือ สังขยาและคำนามใช้วิภัตติเดียวกัน ถือว่าเป็นการใช้คำนามขยายคำนาม หรือใช้วิภัตติของสังขยาตามความหมายที่ต้องการ แต่คำนามใช้ฉัฏฐีวิภัตติ (วิ.6) ถือเป็นคำขยาย เช่น

มีภิกษุ ท. 25 รูป  สามารถแต่งประโยคเป็น 2 แบบ ได้แก่

                 ปญฺจวีสติ ภิกฺขโว  โหนฺติ

ภิกฺขูนํ ปญฺจวีสติ   โหติ

         ฉันเห็นงู 200 ตัว  สามารถแต่งประโยคเป็น 2 แบบ ได้แก่

                 อหํ  เทฺว  สตานิ  สปฺเป  ปสฺสามิ.

                 อหํ  สปฺปานํ  เทฺว  สตานิ  ปสฺสามิ.

เรื่องสังขยานี้เหมือนกับคุณนาม และสรรพนาม ที่กล่าวมาแล้ว

วิธีการใช้หลักๆ คือขยายคำนาม ฉะนั้น จำให้แม่นเลยว่าขยายคำไหน

สังขยาจะต้องมีลิงค์ วิภัตติ วจนะเดียวกับคำนามที่ขยายเสมอ 

เว้นแต่ว่าสังขยานั้นมีคุณสมบัติพิเศษว่าต้องแจกแบบเดียวเท่านั้น