อัพยยศัพท์

อัพยยศัพท์ คือกลุ่มศัพท์ที่แจกด้วยวิภัตติไม่ได้ คงรูปไว้อย่างเดิม ประกอบด้วยศัพท์ 3 จำพวก ได้แก่ อุปสรรค นิบาต และปัจจัย

  • อุปสรรค

อุปสรรค คือคำศัพท์ประเภทหนึ่งที่แจกด้วยวิภัตติไม่ได้  ในภาษาบาลีมีอุปสรรคทั้งหมด 20 ตัว ใช้สำหรับประกอบหน้าคำนามหรือคำกริยา เพื่อให้มีความหมายแปลกออกไป อุปสรรคเมื่อนำหน้าคำนามจะมีลักษณะคล้ายคำคุณศัพท์ เช่น อธิ + ปติ = อธิปติ แปลว่า นายใหญ่ เป็นต้น เมื่อนำหน้าคำกริยาจะมีลักษณะคล้ายคำกริยาวิเศษณ์ เช่น อนุ + คจฺฉติ = อนุคจฺฉติ แปลว่า ไปตาม เป็นต้น

อุปสรรคเหล่านี้ เมื่อนำหน้าคำนามหรือกริยาจะทำหน้าที่แตกต่างกันดังนี้

  • คล้อยตามธาตุ คือ เสริมความหมายของธาตุให้ชัดเจนขึ้น เช่น อนุคจฺฉติ (ไปตาม) อติกฺกมติ (ก้าวล่วง) เป็นต้น
  • เบียดเบียนธาตุ คือ ทำให้ธาตุมีความหมายผิดไปเล็กน้อย เช่น อภิภวติ (ครอบงำ) เป็นต้น
  • สังหารธาตุ คือ เปลี่ยนความหมายของธาตุให้ตรงกันข้าม เช่น อาคจฺฉติ (มา), ปราชยติ (พ่ายแพ้) เป็นต้น
  • ไม่มีความหมายอะไร คือวางไว้เฉยๆ ความหมายของธาตุยังคงเดิม เช่น อามสติ (จับต้อง) มาจาก มสฺ ธาตุ แม้จะเติมอุปสรรคลงไป ก็ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยน

อุปสรรคมีทั้งหมด 20 ตัว ดังนี้

  • นิบาต

นิบาต เป็นอัพยยศัพท์ชนิดหนึ่ง ไม่แจกวิภัตติเหมือนคำนาม ใช้ลงระหว่างนามศัพท์บ้าง กริยาศัพท์บ้าง เพื่อบอกความหมายต่างๆ แบ่งออกเป็น 15 ประเภท ดังนี้

  • นิบาตบอกอาลปนะ

ยคฺเฆ (ขอเดชนะ)                    เป็นคำร้องเรียกชนชั้นสูง

ภนฺเต, ภทนฺเต (ท่านผู้เจริญ)  เป็นคำของคฤหัสถ์ หรือบรรชิตผู้น้อยเรียกบรรชิตผู้ใหญ่

ภเณ (แน่ะพนาย)                     เป็นคำเรียกคนที่อยู่ใต้บังคับของตน

อมฺโภ (ผู้เจริญ)                        เป็นคำเรียกชายด้วยวาจาอ่อนหวาน

เร, อเร (เว้ย, โว้ย)                   เป็นคำเรียกคนที่มีสถานะต่ำกว่า

เห (เฮ้ย)                                   เป็นคำเรียกคนที่มีสถานะต่ำกว่า

เช (แม่)                                    เป็นคำเรียกสาวใช้

  • นิบาตบอกกาล

อถ (ครั้งนั้น)           ปาโต (ตอนเช้า)        ทิวา (กลางวัน)

สายํ (ตอนเย็น)       สุเว (ในวัน)                หิยฺโย (เมื่อวาน)

เสฺว (วันพรุ่งนี้)         สมฺปติ (บัดเดี๋ยวนี้)    อายตึ (ต่อไป)

  • นิบาตบอกสถานที่

อุทฺธํ (เบื้องบน)       อุปริ (เบื้องบน)          อนฺตรา (ระหว่าง)

อนฺโต (ภายใน)       พหิ (ภายนอก)           พหิรา (ภายนอก)

เหฏฺฐา (ภายใต้)      โอรํ (ฝั่งใน)              ปารํ (ฝั่งนอก)

หุรํ (โลกอื่น)           สมฺมุขา (ต่อหน้า)     ปรมฺมุขา (ลับหลัง)

รโห (ที่ลับ)             อโธ (เบื้องต่ำ)

  • นิบาตบอกปริจเฉท

กีว (เพียงไร)                    ยาว (เพียงใด)                              ตาว (เพียงนั้น)

สมนฺตา (รอบคอบ)          ยาวเทว (เพียงใดนั่นเทียว)          ตาวเทว (เพียงนั้นนั่นเทียว)

ยาวตา (มีประมาณเพียงใด)                      ตาวตา (มีประมาณเพียงนั้น)

กิตฺตาวตา (มีประมาณเท่าใด)                   เอตฺตาวตา (มีประมาณเท่านั้น)

  • นิบาตบอกอุปมาอุปไมย

วิย (ราวกะ)             อิว (เพียงดัง)             ยถา (ฉันใด)                       ตถา (ฉันนั้น)

เสยฺยถา (ฉันใด)    ยถาตํ (ฉันใดนั้น)      เอวํ (ฉันนั้น)

  • นิบาตบอกประการ

กถํ (ด้วยประการไร)                  เอวํ (ด้วยประการนั้น)

ยถา (ด้วยประการใด)                ตถา (ด้วยประการนั้น)

  • นิบาตบอกปฏิเสธ

(ไม่)                   โน (ไม่)                       มา (อย่า)                            (เทียว)

เอว (นั่นเทียว)       วินา (เว้น)                  อลํ (พอ, อย่าเลย)

  • นิบาตบอกความได้ยินเล่าลือ

กิร (ได้ยินว่า)           ขลุ (ได้ยินว่า)          สุทํ (ได้ยินว่า)

  • นิบาตบอกปริกัป (เงื่อนไข, คาดคะเน)

เจ (หากว่า)             สเจ (ถ้าว่า)              ยทิ (ผิว่า)                     อถ (ถ้าว่า)

อปฺเปว นาม (ชื่อแม้ไฉน)                       ยนฺนูน (กระไรหนอ)

  • นิบาตบอกความรับ

อาม (เออ)              อามนฺตา (เออ)

  • นิบาตบอกความถาม

กึ (หรือ, อะไร)         กถํ (อย่างไร)           กจฺจิ (แลหรือ)             นุ (หนอ)

นนุ (มิใช่หรือ)          อุทาหุ (หรือว่า)       อาทู (หรือว่า)              เสยฺยถีทํ (อย่างไรนี้)

  • นิบาตบอกความเตือน

อิงฺฆ (เชิญเถิด)         ตคฺฆ (เอาเถิด)         หนฺท (เอาเถิด)

  • นิบาตสำหรับผูกศัพท์และประโยค (นิบาตต้นข้อความ)

(ด้วย, อนึ่ง, ก็, จริงอยู่)         หิ (ก็, จริงอยู่, เพราะว่า)

ตุ (ส่วนว่า, ก็)                          ปน (ส่วนว่า, ก็)

วา (หรือ, บ้าง)                        อปิ (แม้บ้าง)

อปิจ (เออ, ก็)                         อถวา (อีกอย่างหนึ่ง)

  • นิบาตสำหรับทำบทให้เต็ม หรือนิบาตเสริมบท

นุ (หนอ)                สุ (สิ)                    เว (เว้ย)           โว (เว้ย)

โข (แล)                 วต (หนอ)            หเว (เว้ย)

  • นิบาตมีเนื้อความต่าง ๆ

อญฺญทตฺถุ (โดยแท้)   อโถ (อนึ่ง)                   อทฺธา (แน่แท้)

อวสฺสํ (แน่แท้)              อโห (โอ)                      อารา (ไกล)

นีจํ (ต่ำ)                         นูน (แน่)                       นานา (ต่างๆ)

ปจฺฉา (ภายหลัง)          ปฏฺฐาย (จำเดิม)          ปภูติ (จำเดิม)

ภิยฺโย (โดยยิ่ง)             ภิยฺโยโส (โดยยิ่ง)        ปุน (อีก)

ปุนปฺปุนํ (บ่อยๆ)           อาวี (แจ้ง)                     อุจฺจํ (สูง)

กวจิ (บ้าง)                     มิจฺฉา (ผิด)                   มุธา (เปล่า)

มุสา (เท็จ)                     สกึ (คราวเดียว)            สทฺธึ (พร้อม, กับ)

สณิกํ (ค่อยๆ)                สยํ (เอง)                       สห (กับ)

สามํ (เอง)                      สจฺฉิ (ให้แจ้ง)               ปเคว (ก่อนเทียว)

ปฏิกจฺเจว (ก่อนเทียว)  สตกฺขตฺตุ (ร้อยคราว)   กิญฺจาปิ (แม้น้อยหนึ่ง, แม้โดยแท้)

อิติ (เพราะเหตุนั้น, ว่า…ดังนี้, ด้วยประการฉะนี้, ชื่อ)

  • ปัจจัย

ปัจจัย คือกลุ่มคำกลุ่มหนึ่งมี โต ปัจจัย เป็นต้น สำหรับลงท้ายนามศัพท์ เมื่อลงแล้วใช้แทนวิภัตตินาม ไม่ต้องแจกด้วยวิภัตติเหมือนคำนามทั่ว นำไปใช้ในประโยคได้เลย มี 3 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่ม โต ปัจจัย เมื่อลงท้ายนามศัพท์ แทนได้ 2 วิภัตติ คือ ใช้แทนตติยาวิภัตติแปลว่า “ข้าง” ใช้แทนปัญจมีวิภัตติแปลว่า “แต่” ดังตัวอย่าง

               สพฺพโต (แต่-ทั้งปวง)                       อญฺญโต (แต่-อื่น)

               อญฺญตรโต (แต่-อันใดอันหนึ่ง)       อิตรโต (แต่-นอกนี้)

               เอกโต (ข้างเดียว)                            อุภโต (สองข้าง)

               ปรโต (ข้างอื่น)                                 อปรโต (ข้างอื่นอีก)

               ตโต (แต่-นั้น)                                   เอโต, อโต (แต่-นั่น)

               อิโต (แต่-นี้)                                      ปุรโต (ข้างหน้า)

               ปจฺฉโต (ข้างหลัง)                           ทกฺขิณโต (ข้างขวา)

               วามโต (ข้างซ้าย)                            อุตฺตรโต (ข้างเหนือ)

               อโธรโต (ข้างล่าง)                          ยโต (แต่-ใด)

               อมุโต (แต่-โน้น)                             กตรโต (แต่-ไหน)

               กุโต (แต่-ไหน)

  • กลุ่ม ตฺร, ตฺถ, ห, ธ, ธิ, หึ, หํ, หิญฺจนํ, ว ปัจจัย ทั้ง 9 ตัวนี้ ลงแล้วเป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ แปลว่า “ใน…” ดังตัวอย่าง

               สพฺพตฺร (ใน-ทั้งปวง)                   สพฺพตฺถ (ใน-ทั้งปวง)

               สพฺพธิ (ใน-ทั้งปวง)                     อญฺญตฺร (ใน-อื่น)

               อญฺญตฺถ (ใน-อื่น)                       ยตฺร (ใน-ใด)

               ยตฺถ (ใน-ใด)                                ยหึ (ใน-ใด)

               ยหํ (ใน-ใด)                                  ตตฺร (ใน-นั้น)

               ตตฺถ (ใน-นั้น)                               ตหึ (ใน-นั้น)

               ตหํ (ใน-นั้น)                                 เอตฺถ (ใน-นี้)

               อิธ (ใน-นี้)                                    อิห (ใน-นี้)

               กตฺร (ใน-ไหน)                             กตฺถ (ใน-ไหน)

               กุหึ (ใน-ไหน)                               กหํ (ใน-ไหน)

               กุหิญฺจนํ (ใน-ไหน)                      กว (ใน-ไหน)

               เอกตฺร (ใน-เดียว)                        เอกตฺถ (ใน-เดียว)

               อุภยตฺร (ใน-สอง)                        อุภยตฺถ (ใน-สอง)

  • กลุ่ม ทา, ทานิ, รหิ, ธุนา, ทาจนํ, ชฺช, ชฺชุ ปัจจัย 7 ตัวนี้ ลงแล้วเป็นเครื่องหมายสัตตมีวิภัตติ แสดงกาลเวลา ดังตัวอย่าง

              สพฺพทา (ในกาลทั้งปวง)               สทา (ในกาลทุกเมื่อ)

              เอกทา (ในกาลหนึ่ง, บางที)          ยทา (ในกาลใด, เมื่อใด)

              ตทา (ในกาลนั้น, เมื่อนั้น)               กทา (ในกาลไร, เมื่อไร)

              กุทาจนํ (ในกาลไหน)                    อชฺช (ในวันนี้)

              เอตรหิ (ในกาลนี้, เดี๋ยวนี้)              อธุนา (ในกาลนี้, เมื่อกี๊)

              อิทานิ (ในกาลนี้, เดี๋ยวนี้)               สชฺชุ (ในวันมีอยู่, วันนี้)

              ปรชฺชุ (ในวันอื่น)                            อปรชฺชุ (ในวันอื่นอีก)

              กทาจิ (ในกาลไหนๆ, บางคราว)    กรหจิ (ในกาลไหนๆ, บางครั้ง)

เรื่องอัพยยศัพท์นี้ถือว่าง่ายเมื่อเทียบกับเรื่องการแจกวิภัตติคำนามหรือกริยา เพราะไม่ต้องนำไปแจกวิภัตติอีก

เพียงแต่จำประเภทของมันว่าเป็นอุปสรรค นิบาต หรือปัจจัย แต่ละอย่างแปลอย่างไร

ข้อสอบมักถามถึงประเภทของอัพยยศัพท์ ทั้งอุปสรรค นิบาต และปัจจัย ซึ่งต้องจดจำวิธีการใช้อัพยยศัพท์ทั้ง 3 แบบให้ดี ควรแยกแยะให้ได้ว่าแต่ละอย่างต่างกันอย่างไร ข้อสอบส่วนใหญ่จะถามตรงๆ ไม่ค่อยพลิกแพลง พยายามจำคำแปลของอัพยยศัพท์ให้ได้

ทำข้อสอบได้แน่นอน!!!