วัตตมานาวิภัตติ

เมื่อที่รู้ส่วนประกอบของกริยาแล้ว ต่อไปก็จะเข้าสู่การสร้างกริยาครับ

เริ่มต้นจากปัจจุบันกาล ภาษาบาลีเรียก วัตตมานาวิภัตติ

ทบทวนสักนิด

ธาตุมีทั้งหมด 8 หมวด เราจะนำธาตุเหล่านี้มาประกอบกับวัตตมานาวิภัตติเรียงจาก 1 ไปถึง 8

เริ่มจากการสร้างกริยากัตตุวาจก (ประธานทำเอง) ธาตุหมวดที่ 1 มาดูว่าโครงสร้างมีอะไรบ้าง

ยังจำได้ไหมว่ากริยาหนึ่งตัว มีส่วนประกอบ 3 ส่วน  ภาพที่เห็นคือส่วนประกอบของกริยา เอา 3 ส่วนนี้มารวมเข้าด้วยกัน

ก็จะได้กริยา  มาดูตัวอย่างกันครับ

มรฺ + อ + ติ  =  มรติ     (เขา ย่อมตาย)

มรฺ + อ + อนฺติ  =  มรนฺติ     (เขาทั้งหลาย ย่อมตาย)

มรฺ + อ + สิ  =  มรสิ     (ท่าน ย่อมตาย)

มรฺ + อ + ถ  =  มรถ     (ท่านทั้งหลาย ย่อมตาย)

มรฺ + อ + มิ  =  มรามิ    (ข้าพเจ้า ย่อมตาย)

 มรฺ + อ +  =  มราม     (ข้าพเจ้าทั้งหลาย ย่อมตาย)

มาดูการแจกวิภัตติแบบเต็มรูปแบบกันเลย จำภาพการแจกวิภัตติไว้ให้ดี การแจกธาตุตัวอื่นๆ จะง่ายขึ้นมาก

สังเกตให้ดีจะเห็นว่าวิภัตติ มิ กับ  จะมีการยืดเสียงเสมอนะครับ  เวลาเราแจกวิภัตติก็ใช้วิธีเลียนแบบตัวอย่างไปเลย

ประธานในประโยค

ประโยคในภาษาบาลีประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ ประธาน และกริยาคุมประโยค โดยเรียงประธานไว้ต้นประโยค และเรียงกริยาคุมประโยคไว้ท้ายสุด เช่น

อหํ  ลภามิ           ข้าพเจ้า ย่อมได้

ประโยคนี้ “อหํ” ทำหน้าที่เป็นประธาน และ “ลภามิ” เป็นกริยาคุมประโยค ทุกประโยคประธานและกริยาจะต้องตรงกัน กล่าวคือ มีบุรุษและวจนะตรงกัน เช่น ประธานเป็นเอกวจนะ กริยาจะต้องประกอบเป็นเอกวจนะด้วยเช่นกัน

ภาษาบาลีมีลักษณะพิเศษคือสามารถบ่งบอกประธานได้โดยดูจากกริยา เช่น

ขาทามิ  (ข้าพเจ้า) ย่อมกิน

เราสามารถรู้ประธานได้จากวิภัตติที่นำมาประกอบ ในที่นี้วิภัตติคือ “มิ” (อุตตมบุรุษ เอกวจนะ)  บ่งบอกว่าประธานคือ ข้าพเจ้า ซึ่งภาษาบาลีก็คือ “อหํ”  นั่นเอง ส่วนประกอบที่สำคัญทั้งสองส่วนจะต้องประกอบให้ตรงกันเสมอ

จากตารางจะเห็นว่ามีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ บุรุษ ประธาน และกริยา  มองจากซ้ายไปขวาโดยเริ่มจากประถมบุรุษ ถ้าประธานเป็น โส กริยาที่ตรงกันคือ ติ (เอกวจนะเหมือนกัน) ในทำนองเดียวกัน ถ้าประธานเป็น เต กริยาก็เป็น อนฺติ (พหุวจนะเหมือนกัน)  ส่วนบุรุษอื่นๆ พึงสังเกตจาก  ประถมบุรุษเป็นตัวอย่าง

การแปลภาษาบาลี

การแปลภาษาบาลีนั้น คำที่ทำหน้าที่เป็นประธานสามารถแปลได้  2 แบบ แล้วแต่ความนิยมคือแปลพร้อมคำว่า “อันว่า” หรือแปลธรรมดาก็ได้ เช่น

โส  ลภติ             (อันว่าเขา ย่อมได้) หรือ  (เขา ย่อมได้)

อหํ  ลภามิ           (อันว่าข้าพเจ้า ย่อมได้) หรือ  (ข้าพเจ้า ย่อมได้)

การแปลทั้ง 2 แบบสามารถแปลได้ โดยไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปแต่อย่างใด

รู้วิธีการสร้างกริยาแล้ว เรามาลองแจกวิภัตติธาตุอื่นๆ ดูครับ

เพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจ ลองตอบคำถามเหล่านี้ดูนะครับ

เติมกริยาในช่องว่างให้ถูกต้องตามคำแปล

     กสฺ              ………………..  (เขาทั้งหลาย ย่อมไถ

     กนฺทฺ           ………………..   (ท่าน ย่อมร้องไห้

     กีฬฺ             ………………..  (ข้าพเจ้า ย่อมเล่น)

     คมฺ> คจฺฉ  ………………..  (ท่านทั้งหลาย ย่อมไป)

     ปฐฺ             ………………..  (ท่าน ย่อมอ่าน) 

     ปุจฺฉฺ          ………………..  (เขา ย่อมถาม

     มรฺ             ………………..  (ข้าพเจ้าทั้งหลาย ย่อมตาย)

     รกฺขฺ          ………………..  (ท่าน ย่อมรักษา)

     ลิขฺ            ………………..   (เขา ย่อมเขียน

     วสฺ             ………………..  (ท่านทั้งหลาย ย่อมอยู่)

     วนฺทฺ          ………………..  (ข้าพเจ้า ย่อมไหว้)

 

ยังไม่จบครับ…

ธาตุหมวดที่ 1 ยังมีอีกเรื่องคือธาตุที่ลงท้ายด้วยสระ หากสังเกตดีๆ ที่ผ่านมาจะลงท้ายด้วยพยัญชนะทั้งหมด วิธีการเพิ่มขึ้นมานิดหน่อย โดยจะมีเรื่องลำดับขั้นของสระเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่รวมๆ แล้วหลักการเดียวกัน ถ้าเข้าใจธาตุที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะแล้ว ลงท้ายด้วยสระก็สบายๆ มาดูกันเลยดีกว่าว่าเป็นยังไง  โครงสร้างมีดังนี้

เพื่อให้เข้าใจการประกอบวิภัตติอาขยาตได้ดีขึ้น ควรเข้าใจลำดับขั้นของสระก่อน

ลำดับขั้นของสระนั้นมี 3 ระดับด้วยกันคือ

  • รูปธรรมดา หรือ รูปอ่อน เรียกว่า “อวุทฺธิก
  • รูปแข็ง เรียกว่า “คุณ
  • และรูปเพิ่มกำลัง เรียกว่า “วุทฺธิ

จากตารางข้างต้นสระจะมี 3 ขั้น เริ่มตั้งแต่สระธรรมดาลงมาถึงสระขั้นวุทธิ  สระธรรมดาได้แก่ อิ อี อุ อู ถ้าตามด้วยสระ จะได้สระขั้นคุณ (เปลี่ยนตามตัวหลัง) เช่น

หุ + อ + ติ = โหติ            (ย่อมมี, ย่อมเป็น)

 หุ ธาตุ ลงท้ายด้วยสระ อุ (สระธรรมดา) ตามด้วย ปัจจัย (ปัจจัยประจำหมวดธาตุที่ 1) จะเปลี่ยนเป็นขั้นคุณ ซึ่งในที่นี้ขั้นคุณของสระ อุ คือ โอ ดังนั้น หุ จึงเปลี่ยนเป็น โห และนำไปประกอบกับวิภัตติคือ ติ สำเร็จรูปเป็น โหติ เป็นต้น  ธาตุที่ลงท้ายด้วยสระอื่นๆ มีวิธีการประกอบวิภัตติเช่นเดียวกับ หุ ธาตุนี้

ธาตุที่ลงท้ายด้วยสระจะไม่เปลี่ยนแปลงในกรณีต่อไปนี้

  • สระ อ อา เอ โอ ตามด้วยพยัญชนะซ้อน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  • สระ อิ อุ ตามด้วยพยัญชนะซ้อน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  • สระ อี อู ตามด้วยพยัญชนะใดๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ธาตุที่ลงท้ายด้วยสระมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะพบธาตุเดิมๆ ซ้ำๆ ฉะนั้นไม่ต้องห่วงว่าจะจำไม่ได้ มาดูกันว่ามีธาตุอะไรบ้าง

ธาตุหมวดที่ 1 ก็จบลงแล้ว

ทำความเข้าใจให้ดี จำไว้เสมอว่ากริยามี 3 ส่วน ให้ประกอบไปทีละส่วน รับรองไม่งง และจะประกอบกริยาได้ง่ายขึ้น

ถ้าเข้าใจธาตุหมวดที่ 1 แล้ว หมวดที่เหลือก็สบายๆ เพราะใช้หลักการเดียวกัน เพียงแต่มีข้อแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นครับ