พยัญชนะสังโยค

พยัญชนะสังโยค ได้แก่ พยัญชนะที่เขียนซ้อนเรียงกัน  2 ตัว โดยตัวหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและอีกตัวเป็น ตัวตาม เช่น ญฺจ ในคำว่า ปญฺจ อ่านว่า ปัน-จะ ในที่นี้พยัญชนะตัวหน้าคือ ญฺ ซึ่งมีเครื่องหมายพินทุอยู่ข้างใต้ถือว่าเป็นตัวสะกด ส่วนพยัญชนะตัวหลังคือ ถือว่าเป็นตัวตาม ส่วนคำอื่นๆ พึงเปรียบเทียบกับตัวอย่างข้างต้น เพื่อให้เข้าใจเพิ่มขึ้นดูตารางประกอบด้วยจ้ะ

จากตารางเราสามารถอธิบายหลักการของพยัญชนะสังโยคได้ดังนี้

1) การเขียนตัวสะกดและตัวตาม

พยัญชนะในภาษาบาลีทั้ง 33 ตัว ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้ทั้งหมด พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดได้คือ พยัญชนะที่ 1, 3, 5 ในกลุ่มพยัญชนะวรรค และพยัญชนะ ย ล ส ในกลุ่มพยัญชนะอวรรค การเขียนตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีนั้นมีกฎเกณฑ์และข้อกำหนดที่ตายตัว โดยมากเมื่อตัวสะกดอยู่ในวรรคใด ตัวตามก็จะอยู่ในวรรคนั้น จะไม่ใช้พยัญชนะต่างวรรคมาเป็นตัวตาม

2) พยัญชนะวรรคเป็นตัวสะกด พยัญชนะวรรคเป็นตัวตาม

– ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 ในแต่ละวรรคเป็นตัวสะกด ตัวตามจะได้แก่พยัญชนะตัวที่ 1, 2  ในวรรคนั้น เช่น

      กฺก          ในคำว่า                    จกฺก (กงล้อ)

      กฺข          ในคำว่า                    ทุกฺข (ความทุกข์)

      จฺจ          ในคำว่า                    สจฺจ (ความจริง)

      จฺฉ          ในคำว่า                    มจฺฉ (ปลา)

      ปฺป          ในคำว่า                    สปฺป (งู)

      ปฺผ          ในคำว่า                    บุปฺผ (ดอกไม้)

– ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 ในแต่ละวรรคเป็นตัวสะกด ตัวตามจะได้แก่พยัญชนะตัวที่ 3, 4 ในวรรคนั้น เช่น

      คฺค          ในคำว่า                    อคฺคิ (ไฟ)

      คฺฆ          ในคำว่า                    อคฺฆ (ค่า, ราคา)

      ชฺช          ในคำว่า                    เวชฺช (หมอ)

      ชฺฌ         ในคำว่า                    มชฺฌ (กลาง)

      ทฺท          ในคำว่า                    สทฺท (เสียง)

      ทฺธ          ในคำว่า                    สทฺธา (ความเชื่อ)

-ถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 ในแต่ละวรรคเป็นตัวสะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคนั้นเป็นตัวตามได้ทั้งหมด[1] เช่น

     งฺก          ในคำว่า                    ปงฺก (โคลนตม)

     งฺข          ในคำว่า                    สงฺข (หอยสังข์)

     งฺค          ในคำว่า                    มงฺคล (มงคล)

    งฺฆ          ในคำว่า                    สงฺฆ (พระสงฆ์)

    นฺต          ในคำว่า                    ยนฺต (ยนต์)

    นฺถ          ในคำว่า                    คนฺถ (คัมภีร์)

    นฺท          ในคำว่า                    อินฺท (พระอินทร์)

    นฺธ          ในคำว่า                    คนฺธ (ของหอม)

    นฺน          ในคำว่า                    อนฺน (ข้าว)

3) พยัญชนะอวรรคเป็นตัวสะกด พยัญชนะอวรรคเป็นตัวตาม

– พยัญชนะ ย ล ส เป็นตัวสะกด มีตัวตามเป็นตัวเดียวกัน เช่น

     ยฺย      ในคำว่า                     อุยฺยาน (สวน, อุทยาน)

     ลฺล      ในคำว่า                     ชลฺลิ ( สะเก็ดไม้ )

     สฺส      ในคำว่า                     อสฺสุ ( น้ำตา )

          *เทคนิคการจำ*  1 สะกด 1, 2 ตาม; 3 สะกด 3, 4 ตาม; 5 สะกด ทุกตัวตาม (ยกเว้น ง); อวรรค สะกด อวรรคตาม; ย ล ส สะกด ตัวมันตาม

*ข้อพึงระวัง* หากเป็นสระ เอ โอ ที่มีพยัญชนะสังโยคหรือพยัญชนะซ้อนตามหลังนั้น จะจัดเป็น รัสสสระ เหมือนดัง  คำว่า เสยฺโย  โสตฺถิ  เป็นต้น

[1] ยกเว้น ใช้เป็นตัวสะกดอย่างเดียว ไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวตามได้ ดังนั้น คำที่มีลักษณะ งฺง จะไม่ปรากฏ

เรื่องพยัญชนะสังโยคนั้น พบว่าไม่ค่อยเน้นเท่าไรนัก ข้อสอบมักประยุกต์เรื่องพยัญชนะสังโยคเข้ากับเรื่องการออกเสียง ควรจดจำให้แม่นยำว่าพยัญชนะตัวใดที่เป็นตัวสะกดได้ และพยัญชนะใดเป็นตัวตามเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับเรื่องพยัญชนะวรรคและอวรรค ทำตามทั้งหมดนี้รับรองทำข้อสอบได้แน่ๆ!!!