ปูรณสังขยา

ปูรณสังขยา จริงๆ แล้วก็คือการนับเลขแบบลำดับนั่นเอง เช่น ที่หนึ่ง, ที่สอง, ที่สาม, ที่สี่ และที่ห้า เป็นต้น

เกิดจากการนำปัจจัยไปต่อท้ายปกติสังขยา ทำให้ปกติสังขยาบางตัวเปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยที่นำมาประกอบ

ปกติสังขยามี 5 ตัวคือ  ติย ฐ ถ ม อี

การประกอบปูรณาสังขยาด้วยการเติมปัจจัยนั้น แต่ละจำนวนประกอบด้วยปัจจัยที่ต่างกัน เมื่อสำเร็จรูปแล้วจะใช้เป็นคุณศัพท์ เอกวจนะ อย่างเดียว และเป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์ 

การแจกวิภัตติก็แจกตามลิงค์นั้นๆ กล่าวคือ ปุงลิงค์ ให้แจกแบบ  อ การันต์ ปุงลิงค์ คือ ปุริส (บุรุษ), นปุงสกลิงค์  ให้แจกตามแบบ อ การันต์ นปุงสกลิงค์ คือ กุล (ตระกูล),  อิตถีลิงค์ ลงท้ายด้วย อา ให้แจกตามแบบ กญฺญา  (สาวน้อย),  ลงท้ายด้วย อี  ให้แจกตามแบบ นารี (หญิง) เฉพาะฝ่ายเอกวจนะอย่างเดียว

มาดูกันว่าปกติสังขยาเมื่อลงปัจจัยแล้วจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

เอาตัวอย่างมาให้ 1-20 ส่วนที่เหลือก็ใช้หลักการเดียวกัน

ตัวอย่างการแจกวิภัตติปูรณสังขยา เอกวจนะ ทั้ง 3 ลิงค์

ถ้ามองด้วยตาเปล่าคร่าวๆ จะสังเกตว่าปัจจัยที่นิยมที่สุดในการประกอบปูรณสังขยาก็คือ นั่นเอง

ถ้าเราไม่รู้ว่าสังขยาตัวไหนประกอบปัจจัยอะไรก็เดาไว้ก่อนเลยว่า ปัจจัย

แต่อย่างไรก็ดี รู้หลักมันดีกว่านะครับ หลักที่ควรทราบมีดังนี้

» เอก (1) เมื่อเป็นปูรณสังขยาให้ใช้ ปฐ แทน เมื่อประกอบกับ ปัจจัย สำเร็จเป็น ปฐม เหตุเพราะ ปฐ         มาจาก +ฐา (ตั้งอยู่) แปลว่า ตั้งก่อน หรือตั้งครั้งแรก หมายถึงนับเป็นจำนวนแรกนั่นเอง

» อี ปัจจัย ใช้ประกอบกับปกติสังขยาตั้งแต่ 11-18 (เอกาทส-อฏฺฐารส) เฉพาะที่เป็นอิตถีลิงค์เท่านั้น  เพราะ อี เป็นเครื่องหมายของอิตถีลิงค์โดยตรง เช่น เอกาทสี (ที่สิบเอ็ด) เป็นต้น

» การทำปูรณสังขยาให้เป็นอิตถีลิงค์ ทำได้โดยการเติม อา อี ต่อท้ายปูรณสังขยา เช่น ปญฺจม (ที่ห้า) เปลี่ยนเป็น ปญฺจมา ปญฺจมี เป็นต้น

รู้หลักเกณฑ์การสร้างปูรณสังขยาแล้ว มาดูการใช้ในประโยคบ้าง

ปฐโม  ปุริโส  รุกเข  นิสีทิสฺสติ     

บุรุษ คนที่หนึ่ง จักนั่ง บนต้นไม้

ตฺวํ  ปญฺจมํ  ผลํ  ขาทิสฺสสิ 

ท่าน จักเคี้ยวกิน ซึ่งผลไม้ ผลที่ห้า

นารี  ทสเม  มาเส  ปุตฺตํ  ลภิสฺสติ        

หญิงสาว จักได้  ซึ่งบุตร ในเดือน ที่สิบ

สารถิสฺส  ตติเยน  รเถน  คจฺฉิสฺสามิ       

เรา จักไป ด้วยรถ คันที่สาม ของสารถี

กา ตว ทุติยา ภริยา ภวิสฺสติ      

ใคร เป็นภรรยา คนที่สอง ของท่าน จักเป็น

กุหึ ตว ทุติโย ปุตฺโต คมิสฺสติ   

บุตร คนที่สอง ของท่าน จักไป ที่ไหน

โจรา คาเม สตฺตมํ เคหํ วิลุมฺปิสฺสนฺติ           

โจร ท. จักปล้น ซึ่งเรือน หลังที่เจ็ด  ในหมู่บ้าน

กสโก วาณิชา นวมํ วตฺถํ กีนิสฺสติ    

ชาวนา จักซื้อ ซึ่งผ้า ผืนที่เก้า จากพ่อค้า

ย้ำอีกรอบ!!!

ปูรณสังขยาจะเป็นเอกวจนะเท่านั้นนะจ๊ะ วิธีการใช้เหมือนกันกับปกติสังขยา

เรื่องสังขยานั้นข้อสอบจะถามรวมๆ กันทั้งปกติสังขยาและปูรณสังขยา และมักจะถามเกี่ยวกับสังขยาที่นำไปประกอบวิภัตติแล้ว จะต้องสังเกตให้ดีว่าคำนามเป็นลิงค์ วิภัตติ และวจนะอะไร สังขยาก็ต้องมีลิงค์ วิภัตติ และวจนะตรงกันเสมอ (เหมือนกับคุณศัพท์ที่ผ่านมา) เคล็ดลับสำหรับการจำเรื่องลิงค์ของสังขยาคือ

  • 1, 3, 4 ทั้ง 3 ลิงค์ แจกวิภัตติต่างกัน
  • 2, 5-18 ทั้ง 3 ลิงค์ แจกวิภัตติเหมือนกัน
  • 19-98 เป็นอิตถีลิงค์
  • เอกวจนะมี เอก ตัวเดียว  ที่เหลือเป็นพหุวจนะหมด