Category Archives

เนื้อหาเกี่ยวกับ PAT7.6 ภาษาบาลี เหมาะสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่สนใจสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยภาษาบาลี

Jan
11

(010) นิคหิตสนธิ

นิคหิตสนธิ เรื่องสุดท้ายแล้วสำหรับสนธิแล้วครับ คืออะไร? และใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ไปดูกันเลยจ้ะ edit

Jan
10

(009) พยัญชนะสนธิ

พยัญชนะสนธิ พยัญชนะสนธิคืออะไร? ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง มาดูกันเลยครับ พยัญชนะสนธิ คือการเชื่อมคำระหว่างพยัญชนะกับสระ หรือกับพยัญชนะ มี 5 วิธี คือ โลปะ อาเทสะ อาคมะ ปกติ  สัญโญคะ แต่ละอุปกรณ์เมื่อประกอบแล้วเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างมาดูกันครับ   edit

Jan
9

(008) สระสนธิ

สระสนธิ สระสนธิคืออะไร? คือการเชื่อมกันระหว่างกับสระ มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำสนธิ 7 วิธี คือ โลปะ อาเทสะ อาคมะ วิการะ ปกติ ทีฆะ รัสสะ แต่ละชนิดมีวิธีการอย่างไรบ้าง มาติดตามกันเลยจ้ะ edit

Jan
8

(007) สนธิ: การเชื่อมคำ

สนธิคืออะไร? ในการเรียนภาษาบาลี สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือการเชื่อมคำหรือสนธินั่นเอง มาดูกันว่าสนธิประกอบด้วยอะไรบ้าง สนธิ คือ การต่ออักขระให้เนื่องด้วยอักขระ เพื่อย่นย่ออักขระให้น้อยลงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการแต่งฉันท์และทำให้คำมีความสละสลวย (จำคำจำกัดความด้วยนะ) ประกอบด้วยการสนธิหลักๆ 2 อย่างคือ ศัพท์สนธิ และอักษรสนธิ edit

Jan
7

(006) พยัญชนะสังโยค

พยัญชนะสังโยค พยัญชนะสังโยค ได้แก่ พยัญชนะที่เขียนซ้อนเรียงกัน  2 ตัว โดยตัวหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและอีกตัวเป็น ตัวตาม เช่น ญฺจ ในคำว่า ปญฺจ อ่านว่า ปัน-จะ ในที่นี้พยัญชนะตัวหน้าคือ ญฺ ซึ่งมีเครื่องหมายพินทุอยู่ข้างใต้ถือว่าเป็นตัวสะกด ส่วนพยัญชนะตัวหลังคือ จ ถือว่าเป็นตัวตาม ส่วนคำอื่นๆ พึงเปรียบเทียบกับตัวอย่างข้างต้น เพื่อให้เข้าใจเพิ่มขึ้นดูตารางประกอบด้วยจ้ะ edit

Jan
5

(005) ฐานกรณ์ : อวัยวะที่ช่วยในการออกเสียง

ฐานกรณ์ เนื้อหาส่วนนี้จะมี 2 คำที่ต้องทำความเข้าใจคือคำว่าฐาน และกรณ์ ฐานกรณ์ คือ คำใช้เรียกอวัยวะต่างๆ ในช่องปากที่ใช้ในการออกเสียง โดยแยกตามลักษณะการทำงานในการออกเสียงได้  2 ประเภท คือ ฐาน และ กรณ์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ฐาน หมายถึง อวัยวะที่ไม่เคลื่อนไหวในขณะเปล่งเสียง อวัยวะเหล่านี้อยู่ทางด้านบนของช่องปาก ได้แก่ ริมฝีปากบน ฟันบน ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และผนังคอ กรณ์ คือ อวัยวะที่เคลื่อนไหวไปประชิดฐานเมื่อเปล่งเสียง อวัยวะเหล่านี้อยู่ทางด้านล่างของช่องปาก ได้แก่ ริมฝีปากล่าง ฟันล่าง และลิ้น ดูตารางประกอบเลยจ้ะ edit

Jan
4

(004) พยัญชนะ

พยัญชนะในภาษาบาลี พยัญชนะ ในภาษาบาลีมีทั้งสิ้น 33 ตัว ทุกตัวจัดเป็นพยัญชนะใบ้ (มูคะ) เป็น นิสสิต คือไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตนเอง จะต้องประกอบเข้ากับสระเสียก่อนจึงจะสามารถออกเสียงได้ แบ่งพยัญชนะออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พยัญชนะวรรค และพยัญชนะอวรรค  หรือเศษวรรค ดูตารางประกอบเลยจ้ะ edit

Jan
3

(003) สระ

สระในภาษาบาลี ก่อนพูดถึงเรื่องสระมาทำความรู้จักกับอักขระหรืออักษรกันก่อนครับ อักขระในภาษาบาลีหมายถึงสระและพยัญชนะรวมกัน มีทั้งสิ้น 41 ตัว ประกอบด้วย สระ 8 และพยัญชนะ 33 สระในภาษาบาลีนั้นมีทั้งสิ้น 8 ตัว ได้แก่  อ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ สระทั้ง 8 ตัวนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า นิสสัย สามารถออกเสียงได้โดยลำพัง รวมถึงสามารถทำให้พยัญชนะออกเสียงได้ด้วย edit

Jan
2

(002) ตอบ 3 ข้อสงสัยเกียวกับ PAT บาลี

PAT บาลีคืออะไร  การสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยภาษาต่างประเทศ นักเรียนสามารถเลือกได้หลายภาษา หนึ่งในนั้นคือภาษาบาลี เมื่อเทียบกับภาษาต่างประเทศอื่น ภาษาบาลีถือเป็นภาษาต้นๆ ที่มีผู้เลือกสอบอาจจะเพราะว่าเป็นเพียงวิชาเดียวที่ข้อสอบเป็นภาษาไทย จึงทำให้ผู้เข้าสอบมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี ข้อสอบบาลียากไหม หากถามว่าข้อสอบยากไหม ในฐานะผู้ที่สอนบาลีคำตอบคือ “ไม่ยาก” เพราะหากเรียนรู้ภาษานี้อย่างจริงจังแล้วจะพบว่าข้อสอบถามอย่างตรงไปตรงมา ทั้งคำถามต่างๆ ก็ถามเป็นภาษาไทย ขอแค่รู้หลักเกณฑ์บางอย่างก็สามารถทำข้อสอบได้ในระยะเวลาอันสั้น edit

Jan
1

(001) 4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับบาลี

 4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับบาลี บาลีคืออะไร ทำไมถึงเรียกบาลี เรียกอย่างอื่นได้ไหม มาดู 4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับบาลีกันครับ บาลีไม่ใช่ภาษา ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ภาษาในที่นี้ใช้ในความหมายว่าเป็นตัวแทนของชนชาติเช่น ภาษาไทย มีคนไทยเป็นคนพูดและก็ใช้ในประเทศไทย ภาษาจีน มีคนจีนเป็นคนพูดและก็ใช้ในประเทศจีน อย่างนี้เป็นต้น ถ้าเราจัดอย่างนี้  บาลีก็ไม่ใช่ภาษาแน่นอน เพราะไม่มีคนบาลี ไม่มีประเทศบาลี แล้วทำไมถึงเรียกบาลี? edit